ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
៧២
อุบายโกศลนั้น คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายสำหรับประกอบกิจนั้น ๆ มีวิภาคเป็น ๒
ประการ คือ อายโกศล ความเป็นฉลาดรอบรู้ เหตุเป็นเครื่องเจริญ ๑ อบายโกศล ความเป็นผู้ลาด
รอบรู้เหตุเป็นเครื่องเสื่อม ๑ คุณข้อนี้มีในท่านผู้ใดแล้ว ท่านผู้นั้นย่อมเข้าใจที่จะ ประกอบกิจไม่ให้
อากูล ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้สำเร็จบริบูรณ์ โดยสามารถ แม้มีภัยที่น่าหวั่นหวาดตั้งอยู่
รอบด้าน ยังอาจดำริการณ์ผ่อนปรนทำตนและผู้อื่นให้รอดโดยสวัสดี ความนี้พึงสาธกด้วยเรื่องใน
มหาปริพพานสูตรในทีฆนิกายมหาวรรค ฯ
ครั้งเมื่อมัลลกษัตริย์ผู้ครองกุสิรานานครน้อย ทำการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วข่าว
ทราบไปถึงกษัตริย์และปชาธิบดีผู้ครองราชย์ธานี และนครใหญ่น้อย ๗ ตำบลมีพระเจ้าอชาตศัตรู
ผู้ครองราไชศวรรยาธิปัตย์มคธราชอาณาจักรเป็นประธาน ต่างพระองค์ทรงแต่งราชทูตจำทูลราช
ศาสน์ส่งไปสู่กุสินารานคร ให้ทูลขอส่วนพระพุทธสารีริกธาตุ ต่อมัลลกษัตริย์ เพื่อเชิญมาบรรจุไว้
ในพระสถูปเป็นที่ทำสักการบูชา ถ้าคณะมัลลกษัตริย์ จะไม่ฉลาดในอุบายหยั่งเห็นการณ์ข้างหน้า
พอทูตเมืองไหนมาถึง ก็จะแจกให้ไป ๆ ฉวยว่าพระสารีริกธาตุหมดแล้ว จะมีใครมาขออีกและจะ
ไม่ได้หรือผู้ที่ได้ แจกแล้ว แต่จะไม่ประสงค์เพียงเท่านั้น ยังจะต้องการอีก เมื่อไม่ได้สมประสงค์ก็จะ
เกิดอาฆาต บาดหมางแล้วและเข้ากันหรือ แต่ลำพัง ยกพยุหแสนยามาทำสงคราม เพื่อชิงเอาด้วย
พลการ ฯ
ไหนเลยคณะมัลลกษัตริย์ผู้มีกำลังน้อย จะต่อต้านกำลังข้าศึกผู้มีกำลังมากกว่าได้ถึงอย่างไร
ก็ไม่ควรให้มีสงครามมาติดนตรในอันใช้ที่ คณะมัลลกษัตริย์ทรงเห็นการณ์ดังนี้ จึงยังไม่ยอมแจก
พระสารีริกธาตุให้ไปก่อน กว่าทูตทั้งหลาย พระนครจะพร้อมกันเข้าแล้วและรบเร้าจะแจกจนได้ น
เมื่อเป็นสมัยเช่นนี้ โทณพราหมณ์จึงได้กล่าวสุนทรกถาแนะนำ ทูต ๗ พระนครให้สโมสร
สามัคคีกับคณะมัลลกษัตริย์ได้แล้ว พร้อมใจกันแบ่งพระสารีริกธาตุออกเป็น 4 ส่วน แจกแก่กัน
และส่วนเมื่อได้ทำเช่นนี้หากจะมีใครมาขอในภายหลัง ก็จะอ้างได้ถนัดว่า พระสารีริกธาตุนั้นแบ่ง
กันเสริฟแล้ว ถ้าจะขึ้นต่อยุทธทำการประหารแย่งชิง ก็จะได้อาศัย ๗ พระนครนั้น อันร่วมสามัคคี
ธรรมเป็นกำลังช่วยต่อสู้ข้าศึก ข้อนี้ก็มีผล ฯ
เมื่อแจกพระธาตุกันเสร็จแล้ว คณะโมริยกษัตริย์เมืองปิปผลิวันเพิ่งทราบข่าว และแต่งทูต
มาขอพระสารีริกธาตุ ก็ได้ไปแต่อังคารที่เหลือ ไม่สามารถจะขู่เข็ญคณะมัลลกษัตริย์ ให้จำยอมแบ่ง
ส่วนของตนให้อีก คณะมัลลกษัตริย์และโทณพราหมณ์ฉลาดในอุบาย หยั่งเห็นการณ์ข้างหน้า
ปฏิบัติกิจต้องตามท่วงที ทำพระนครให้สวัสดีจากมหาภัยอันน่าหวาดหวั่นเห็นปานนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ฯ ។