ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
พ.ศ. ๒๔๗๓
๓๑๗
ในปีนี้ ( ๒๔๗๓ ) จักเลือกมาถวายวิสัชนา ๒ ประการ คือ ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่
ในถิ่นอันสมควร ปฏิรูปการิตา ความเป็นผู้ทำให้เหมาะ
๑.
ถิ่นฐานอันเหมาะเจาะแก่ความเป็นไปของบุคคลก็ดี ของคณะก็ดี ชื่อว่าปฏิรูปเทส
สำเร็จการอยู่ในปฏิรูปเทสนั้น เรียกว่าปฏิรูปเทสวาสะ แปลว่า การอยู่ในถิ่นอันสมควร บุคคลก็ดี
คณะก็ดี มีความเป็นไป อาศัยกิจการอย่างใด มาอยู่ในถิ่นอันสมควรแก่กิจการอย่างนั้นแล้ว ย่อม
อาจยังกิจการอย่างนั้นให้สำเร็จโดยสะดวก มีเรื่องเล่าในพระราชดงศาวดารว่า พระเจ้านคร
เชียงรายทรงย้ายราชธานีลงมาตั้ง ณ กรุงไตรตรึงษ์ แลพระเจ้าอู่ทองเสด็จย้ายจาก
กรุงเทพมหานครลงมาตั้งที่ตำบลหนองโสนเป็นกรุงศรีอยุธยา ก็เพื่อทรงเลือกหาถิ่นอันเป็นปฏิรูป
เทสแห่งการตั้งอยู่ของประชาชาติอันเป็นราชอาณาจักร, ด้วยการเลือกหาปฏิรูปเทสได้ตามสมัย
กับทั้งความสามารถในการปกครอง ประชาชาติไทย จึงตั้งเป็นราชอาณาจักรมาได้ยั่งยืนนานจน
ดีกว่า
แต่ นอน
กาลทุกวันนี้ แม้ถูกชาติอื่นบีฑาบ้างในระหว่างคราวที่อ่อนแอ ก็ยังกลับตั้งตัวขึ้นได้อีก
เป็นปฏิรูปเทสในสมัยหนึ่งมาถึงอีกสมัยหนึ่ง ย่อมกลายเป็นมิใช่ปฏิรูปเทสก็ได้ เพราะคติแห่ง
ธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่นลำน้ำย้ายกระแสไหลไปทางอื่น ที่นั้นดอนตื้นขึ้นอัตคัดด้วยน้ำ
หรือขัดขวางด้วยทางไปมา เพราะกำลังหย่อนไม่เทียมทันถิ่นใกล้เคียงบ้าง เช่น ที่อื่นเป็นทำเล
มหาชนพากันอพยพไปตั้งที่นั้น ถิ่นเดิมร่วงโรงลง เจ้าของถิ่นปรารถนารักษาความเป็น
ปฏิรูปเทสแห่งถิ่นของตนให้คงไว้ จำต้องเอาใจใส่ป้องกัน แก้ไขพิทักษ์รักษา ให้ทันความ
เปลี่ยนแปลงแห่งคติของธรรมดา แลทำนุบำรุงให้มีกำลังเท่าทันเทียมถิ่นใกล้เคียง หรือพยายาม
ให้เจริญยิ่งกว่า การอยู่ในปฏิรูปเทส เป็นจักรสมบัติประการหนึ่งอันส่งให้ถึงความเจริญด้วยโลกิย
สมบัติ เหตุดังนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระบรมพุทโธวาทจักร ๔ แลตรัสว่าเป็น
มงคลอันอุดมประการหนึ่งในมงคลสูตรว่า