ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
ประกอบด้วยองค์สมบัติ
๗๗
ราชนิยม แลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้านั้น อันท่านที่เป็นมุขมนตรี และเจ้ากระทรวงเข้า
ช่วยเป็นกำลัง ได้ทรงสั่งและรักษาราชการ ด้วยพระวิริยะปรีชาสามารถ สมแก่เป็นที่วางพระราช
หฤทัยไว้ ต้องด้วยลักษณะพระราชโอรสผู้ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดินาถที่แสดงในพระสูตรว่า
๕ ประการ คือ อัตถัญญู เป็นผู้รอบรู้อรรถ คือกระแสความ และผล
ประวัติ ธัมมัญญู เป็นผู้รอบรู้ธรรม คือสันทันในพากย์คำ และเหตุการณ์ มัตตัญญู เป็นผู้รู้จัก
ประมาณ คือความพอดีแห่งกิจและบุคคล กาลัญญู เป็นผู้รอบรู้กาลสมัยที่สมควรประกอบกิจให้
สบโอกาส ปริสัญญู เป็นผู้รู้จักบริษัทว่าจะควรยึดเหนี่ยวไว้ได้ด้วยสถานไร. สมเด็จบรมบพิตรพระ
ราชสมภาคเจ้าได้ทรงพระราชโอรสผู้ทรงคุณสมบัติเช่นนี้ไว้ต่างพระองค์ ถึงจะเสด็จอยู่ในที่ไกลก็
พอจะทรงเบาพระวิตกถึงราชการได้ แม้นเสด็จอยู่ในพระนคร สมด้วยพระพุทธภาษิตในคัมภีร์
ปัญจกนิบาต อังคุตตว่า (๑) ปญฺจ ภิกขเว องเคห์ สมนาคโต ราชา ขตฺติโย มุทธาภิสิต
โต ยสส์ ยสส์ ทิสาย์ วิหรติ สกลุ่มเยว วิชิเต วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขัตติยราชผู้ได้
มุรธาภิเษกแล้ว ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๕ ประการแล้ว เสด็จอยู่ในทิศใด ๆ ก็ชื่อว่าเสด็จอยู่ใน
แว่นแคว้นของพระองค์เอง, องค์ ๕ นั้น คือ อุภโต สุชาโต โหติ มีพระชาติอันดีทั้ง ๒ ฝ่าย
คือทั้งฝ่ายพระชนนี ทั้งฝ่ายพระชนก มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดเป็นอันดีตลอด ๗ ชั่ว
บุรพบุรุษ อันผู้ใดผู้หนึ่งไม่ติเตียน ไม่คัดค้านได้ เพราะถ้อยคำปรารภพระชาติ ข้อที่มีพระชาติ ข้อ
ที่มีพระชาติสูงทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ เป็นองค์อันหนึ่ง อตฺโฒ โหติ เป็นผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มี
เครื่องอุปโภคมาก มีพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ เป็นองค์อันหนึ่ง พลวา โข ปน โหติ
จตุรงคิริยา เสนาย สมนนาคโต และมีกองพลประกอบด้วยเสนา ๔ เหล่า บังคับง่ายอยู่ใน
ถ้อยคำ ตั้งใจทำตามอาณัติ เป็นองค์อันหนึ่ง ปริณายโก โข ปนสฺส โหติ ปณฺฑิโต อนึ่ง
ปริณายกขุนพลของพระองค์เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด มีปรีชาสามารถ จะดำริการทั้งอดีตอนาคต
ปัจจุบัน นี้เป็นองค์อันหนึ่งธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมอบรมพระราชอิสริยยศของขัตติยราชนั้นให้
เจริญแก่กล้า พระราชามหากษัตริย์ประกอบด้วยธรรม มียศเป็นที่ ๕ นี้แล้ว เสด็จอยู่ในทิศใด ๆ
ก็ชื่อว่าเสด็จอยู่ในแว่นแคว้นของพระองค์เอง เพราะความเป็นเช่นนี้ย่อมมีสำหรับท่านผู้มีชัยชนะ
เป็นอย่างวิเศษแล้ว สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาคเจ้าได้พระราชโอรสเป็นที่วางพระราชหฤทัย
ได้เช่นนี้ ควรได้ทรงรับความพลอยยินดีของชนทั้งปวง
(๑) อง. ปญฺจก. ๒๒/๑๖๙.