การป้องกันอันตรายโดยการเสริมสร้างคุณธรรม มงคลวิเสสกถา หน้า 268
หน้าที่ 268 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ถิ่นฐาน ผ่านการนำเสนอคำสอนจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ โดยเน้นถึงความสำคัญในการรักษาคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่ อุฏฐานะ, อัปปมาทะ, สัญญมะ และ ทมะ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นและสร้างพึ่งพาในที่อาศัยของตน ในการดำเนินชีวิตให้มีสุขและมั่นคง เปรียบเสมือนการทำเกาะไม่ให้ถูกพายุหรืออุทกภัยท่วมทับ เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขและเต็มที่

หัวข้อประเด็น

-การรักษาคุณธรรม
-การป้องกันความเสียหาย
-การทำเกาะไม่ให้ถูกท่วม
-บทเรียนจากพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๒๗๓ ห้วงน้ำก็จะท่วมทัน ทำให้เกิดอุทกภัยแก่ประชาชน ในที่นั้น ข้อนี้ฉันใด อันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ ถิ่นฐานก็เป็นฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุภายในมีแตกสามัคคีแลระแวงสงสัยกันเป็นอาทิก็มี เพราะเหตุภายนอกมีปัจจมิตรมาย่ำยีเป็นต้นก็มี อันตรายเหล่านี้ย่อมทำถิ่นฐานไม่ให้เป็นที่พึ่ง พำนักอาศัยแห่งผู้เป็นเจ้าของ ทำนองเดียวกับห้วงชลาลัย ทำเกาะให้กลายเป็นสมุทรไปฉะนั้น สมเด็จพระโลกนาถจึงระทานพระบรมพุทโธวาท โดยนัยให้นรชาติเอาใจใส่ป้องกันรักษาทำนุ บำรุงเกาะ คือถิ่นฐานที่พำนักของตน อย่าปล่อยให้กระแสชลคืออันตรายท่วมทับได้เช่นนั้น ด้วย คุณธรรม ๔ ประการ คือ ด้วย อุฏฐานะ ความหมั่นเอาใจใส่ ๑ ด้วย อัปปมาทะ ความไม่ ประมาทเลินเล่อ ๑ ด้วย สัญญมะ ความระวัง ๑ ด้วย ทมะ ความปราบปราม ๑ รวมเป็น ๔ ถ้าเจ้าของถิ่นที่เกียจคร้าน เลินเล่อ ไม่คอยระวัง แลไม่รีบระงับความเสียหาย อุปัทวันตรายก็ ได้ช่องเกิดขึ้น ครอบงำทำให้พินาศ ถ้าเจ้าของมีปรีชาฉลาดตั้งมั่นอยู่ในองคสมบัติทั้ง ๔ กล่าวคือ มีเพียรเพื่อจะจัดจะทำกิจที่ยังไม่ได้จัดไม่ได้ทำข้างหน้า แลเพื่อจะรักษากิจธุระที่ได้จัดได้ทำขึ้นแล้ว ในปัจจุบันให้ทันท่วงทีเป็นไปโดยสม่ำเสมอ เอาใจใส่ไม่เผอเรอเพิกเฉยละเลย ปล่อยให้ล่วงกาล เสื่อมทราม คอยตามระวังเกียดกันความเสียหายอันยังไม่มีมา ปล่อยให้ล่วงกาลเสื่อมทราม 2 0 บ คอย ตามระวังเกียดกันความเสียหายอันยังไม่มีมา ตั้งหน้ามุ่งบำบัดความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น ดขืนแล้วให้หมด ไปพิบัติภัยอันตรายก็ไม่ได้ช่องที่จะเกิดขึ้นแก่ตน เหมือนประชาชนผู้อยู่ในเกาะหรือดินแดนอันลุ่ม เพียงทุ่มถมที่ให้ตื้นดอนเด่นสูงขึ้นได้ หรือก่อนทำนบกั้นกันห่วงชลาลัยอันจะท่วมถึง แลคอยพินิจ คำนึงระวังรักษาแก้ไข้ด้วยควาไม่ประมาทฉะนั้น ดังนี้ชื่อว่าทำเกาะไม่ให้ห้วงน้ำท่วมท้นได้ในพระ พุทธนิพนธ์นี้โดยพยัญชนะ โดยอรรถนั้นกุสลธรรมได้ชื่อว่าเกาะ เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ผู้ ตกอยู่ในโอฆะ คือสงสารสาครสังกักเลสธรรมอันจะทำกุศลให้ม้วยมรณ์พินาศ ชื่อว่าห้วงน้ำ สาธุชนได้พึ่งความดีความงามซึ่งเป็นที่พำนักอาศัยย่อมทรงตนให้ตั้งขึ้นได้ในสมบัตินั้น ๆ เป็นต้น ว่า โภคทรัพย์แลอิสริยยศ มีสามารถจะนำอัตภาพไปโดยสวัสดี ไม่ต้องประพฤติทุจริตอกุศลราศี อันจะทำตนให้ตกต่ำลำบกเพราะชีวิโตบายเป็นเหตุ ถ้าปล่อยให้สังกิเลสครอบงำ ก็จะทำอันตราย แก่กุศลสุจริตที่ได้ประพฤติไว้ ยังบุคคลให้ตกต่ำลงไป เหมือนตนเรือแตกขึ้นฝั่งเกาะได้ ถูกห้วงน้ำ ท่วมท้นพัดพากลับไปตกในสาคร สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จึงตรัสสอนให้ทำเกาะอย่าให้ห้วง น้ำท่วมทับได้ ด้วยกำลังคุณสมุทัย ๔ ประการ ซึ่งได้นามโวหารว่า ทีปกรณธรรมของเมธีบุคคล กล่าวคือเพียรทำกุศลความดีที่ยังไม่ได้ประกอบเอาใจใส่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More