ทีฆาวุกุมารและพระบรมพุทโธวาท มงคลวิเสสกถา หน้า 69
หน้าที่ 69 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงเรื่องราวของทีฆาวุกุมาร พระราชโอรสที่ได้โอกาสแสดงความภักดีและสามารถจนได้รับความไว้วางใจจากพระเจ้าพรหมทัตต์ แม้ว่าจะมีหนทางในการแก้แค้นแต่กลับเลือกที่จะทำการอย่างมีสติ ภายหลังเขาได้รวมสองพระนครเป็นอาณาจักรเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเพียรและปรีชาของเขา นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับพระบรมพุทโธวาทที่มีความสำคัญในเรื่องการทำงานอย่างไม่อยู่เฉยและการสร้างความมั่นคงให้กับตนเองและที่ตั้งอาศัย

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาตนเอง
-ความเพียร
-ความสามารถ
-อุทกภัยและความปลอดภัย
-พระพุทธภาษิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ๖๙ ทีฆาวุกุมาร พระราชโอรสพระเจ้าที่มีติผู้ครองโกศลรักฐ อุบัติเมื่อภายหลังแต่พระชนกเสียพระนคร แก่พระเจ้าพรหมทัตต์ผู้ครองแคว้นกาสีแล้ว ได้อาศัยความเพียร ตั้งต้นแต่ไปฝากตนอยู่ในสำนัก หมอช้างพระที่นั่ง ดีดพิณดังไปถึงพระเจ้าพรหมทัตต์ เป็นที่พอพระราชหฤทัย ไม่ทรงทราบว่าเป็น บุตรอมิตร ก็โปรดให้รับราชกิจด้วยมิได้ทรงระแวงทีฆาวุก็แสดงความภักดีและสามารถเป็นลำดับ มา จนพระเจ้าพรหมทัตต์ทรงเมตตาชุบเลี้ยงเป็นคนสนิท ตามเสด็จติดพระองค์ทุกแห่งหน คราว หนึ่งได้ช่องที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าพรหมทัตต์ แก้แค้นแทนพระบิดา แต่มาระลึกถึงโอวาทที่พระ ชนกประทานไว้ในข้อว่า จงเห็นยาวดีกว่าสั้น จึงทำอาการเพียงให้ตกพระทัยเท่านั้น แล้วยกพระ ชนม์ถวายได้โกศลรัฐของตระกูลเป็นค่าไถ่กับพระราชธิดาเป็นคู่ครอง ภายหลังรวม ๒ พระนคร มาไว้ในอาณาจักรอันเดียวได้ ความเพียรเป็นองค์หนึ่ง ซึ่งยังบุคคลมีปัญญาให้ตั้งตนได้ในโภค ทรัพย์และอิสริยยศ ด้วยประการฉะนี้ เหตุดังนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงประทานพระบรม พุทโธวาทไว้ว่า อุฏฺฐาเนนปุปมาเทน ทีป์ กยิราถ เมธาวี สญฺญเมน ทเมน จ ย์ โอโฆ นาภิกีรติ (๑) ความว่า ชนผู้มีปรีชา ควรทำเกาะกล่าวคือที่พึ่งของตน ให้เป็นตำบลที่ห้วงน้ำจะท่วมไม่ได้ด้วย ความหมั่นเป็นเหตุลุกขึ้นทำการงานไม่อยู่เฉย ด้วยความไม่เลินเล่อ ด้วยความระวัง และด้วย ความปราบปราม. พระพุทธภาษิตนี้ ให้ได้ความสันนิษฐานลงโดย ๒ นัย คือ โดยพยัญชนะและโดยอรรถ โดยพยัญชนะนัยนั้นว่า เกาะหรือดินแดน ที่ตั้งเป็นประเทศบ้างเมืองอันเป็นถิ่นฐานของตน ได้ ชื่อว่าเกาะ เกาะนี้ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง ของชนผู้เกิดผู้อยู่ในที่นั้นด้วยความเป็นเจ้าของเพราะเป็นที่พำนัก อาศัย, อันตรายภายในภายนอก ที่จะเกิดขึ้นแก่ถิ่นฐานชื่อว่าห้วงน้ำ เกาะในสมุทรถล่มตาม ลำพังตนเอง เพราะเหตุบันดาลเป็น เช่นภูเขาไฟประทุ ห้วงน้ำก็จะท่วมทำให้เป็นสมุทร มิฉะนั้น เกาะนั้นตั้งปริ่มน้ำ เมื่อเกิดพายุใหญ่ทำให้สาครกำเริบ ห้วงน้ำก็จะท่วมท้นทำให้เกิดอุทกภัยแก่ ประชาชนในที่นั้น ข้อนี้ฉันใด อันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ถิ่นฐานก็เป็นฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ภายใน มีแตกสามัคคีกันเป็นอาทิก็มี ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุภายนอก มีปัจจามิตรย่ำยีเป็นต้นก็มี ทำนองเดียวกับห้วงน้ำทำ อันตรายเหล่านี้ย่อมทำถิ่นฐานไม่ให้เป็นที่พึ่งพำนักของผู้เป็นเจ้าของ เกาะให้ (๑) ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More