การสละทรัพย์อวัยวะเพื่อรักษาชีวิต มงคลวิเสสกถา หน้า 343
หน้าที่ 343 / 390

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้มีการพูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับการสละทรัพย์และอวัยวะเมื่อถึงเวลาที่จำเป็น โดยยกตัวอย่างถึงความสำคัญในการรักษาชีวิตและการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามหลักธรรม การเล่าเรื่องนี้เน้นถึงความสำคัญของการมีคุณธรรมในสังคมและการส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าภายใต้หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เมื่อถึงวาระที่ต้องตัดสินใจเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดธรรมชาติ ก็ย่อมควรให้ความสำคัญในการรักษาชีวิตไว้มากกว่าสิ่งอื่นๆ เหมือนกับการนำโคไปยังที่ที่ถูกต้องก็ตาม.

หัวข้อประเด็น

-การสละทรัพย์
-ความสำคัญของชีวิต
-หลักธรรมในการใช้ชีวิต
-การปฏิบัติตนตามหลักธรรม
-ความเป็นธรรมในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๔๘ องค์ ธนชีวิตญฺจาปิ สพพ์ อปเปว ชเห ธมฺมมนุสสรนฺโต เมื่อระลึกถึงธรรมถึงคราวเข้า ทรัพย์ อวัยวะ แม้ชีวิต ก็ควรสละเสียทั้งนั้น อธิบายว่า ทรัพย์เป็นของหาได้ด้วยความเหนื่อยยาก หรือด้วยความเสี่ยง ทรัพย์เป็นของควรจะเก็บถนอมไว้ ใช้ทำประโยชน์นั้น ๆ มีจ่ายเลี้ยงตนแลคนควรเลี้ยงเป็นต้น ถ้าตนมีโรคเกิดขึ้นแลทิ้งไว้จะเสีย อวัยวะ เช่นเป็นบาดแผลที่มือหรือเท้า ควรจ่ายทรัพย์เป็นค่ารักษาโรคนั้น ถ้าอวัยวะนั้นเสียใช้ ไม่ได้ จำจะต้องตัดเสียจึงจะรอดชีวิต เช่นนี้ควรยอมตัดอวัยวะนั้นเสีย รักษาชีวิตไว้ดีกว่า เมื่อถึง คราววิบัติมีมา จะเอาชีวิตรอดแต่ละต้องล่วงละเมิดธรรม เช่นในทางพระศาสนา ถูกบังคับให้ เข้ารีตในศาสนาอื่นที่ตนไม่เลื่อมใส หรือเช่นในการสงคราม ถูกข้าศึกจับเป็นเชลย แลถูกบังคับ ให้ทำการอันเป็นเครื่องประทุษร้ายชาติแลบ้านเมืองของตน เช่นนี้ แม้ชีวิตก็ควรยินดียอมสละไม่ ต้องกล่าวถึงทรัพย์แลอวัยวะ เป็นของควรต้องสละอยู่เอง ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม อันสมเด็จบรมศาสดาตรัสว่า เป็นเหตุถึงความเจริญ แลเป็นนาถกรณธรรมทำที่พึ่ง ผู้ใฝ่ธรรมที่เป็นผู้น้อย อันผู้ใหญ่ย่อมพอใจชุบเลี้ยงเป็นที่พึ่ง ที่ เป็นผู้ใหญ่ อันผู้น้อยย่อมนิยมนับถือ ยึดเอาเป็นที่พึ่ง อาจนำผู้น้อยให้เป็นผู้ใฝ่ธรรมตาม เจริญย่อมเกิดมีเพราะเหตุนั้น สมด้วยพระคาถาประพันธ์พุทธภาษิตว่า คนนเจ ตรมานาน สพฺพา ตา อุช คนติ อุช คจฺฉติ ปุงฺคโว เนตเต อุช คเต สติ เมื่อฝูงโคกำลังข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกผู้นำฝูงไปตรง โคทั้งปวงย่อมไปตรงตามกัน เอวเมว มนุสฺเสส โย เจ ธมฺม จรติ โย โหติ เสฏฐสมุมโต ปเคว อิตรา ปชา ความ สพฺพ์ รฏฐ์ สุข เสติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก ។ ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ที่เขาสมมติว่าประเสริฐสุด ประพฤติเป็นธรรมประชาชนนอกนี้ ย่อมประพฤติเป็นธรรมตามกัน ถ้าพระราชาตั้งอยู่ในธรรมแว่นแคว้นทั้งปวงย่อมอยู่เป็นสุข ธัมมกามตา ย่อมเป็นหลักแห่งความประพฤติตรงในกรณียะนำความดีความงามมาแก่ตนแลผู้อื่น ด้วยประการฉะนี้.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More