ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๑๗๐
และไทยธรรมสมณบริขารในภิกษุสงฆ์แล้วทรงพระราชทาน อุทิศส่วนพระราชกุศลแก่เทวดามนุษย์
เป็นเทวดาพลี สรรพสาธารณพลีธรรมบรรณาการ เพื่อให้อนุโมทนาสัมฤทธิ์วิบุลสุขสมบัติ และ
จะได้ตั้งไมตรีหิโตปเทศกัลยาณจิตประสิทธิชัยมงคลสิริสวัสดิ์พระชนมสุขศุภวิบุลมนุญผล
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าให้ทรงพระสถาพรนิรมลในพระสิริราชมไหศวรรยสมบัติ โดย
อุดมสิริสวัสดิ์เกษมนิราศสรรพพิบัติ
ถวาย
อุปัทวันตรายทรงบำเพ็ญพระราชธรรมจริยา
รัฏฐาภิบาลโนบายและพระราชกุศลบุญนิธิให้อุฬาราดิเรกไพศาล เพิ่มพระบรมสมโพธิสมภารสัป
ปุริสปฏิบัติ ทรงเป็นองค์บรมนาถบพิตรแห่งประชานิกรทุกหมู่เหล่าเทพทั้งมนุษย์อารักษ์ทุกสถาน
ทรงเบิกบาน ด้วยพระราชกัลยาณเกียรติคุณอดุลยบริสุทธิ์สมดังพระพุทธภาษิตตรัสไว้ในปัญจกัง
คุตตนิกายว่า สปปุริโส ภิกขเว ชายมาโน เป็นอาทิ แปลความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัป
บุรุษเกิดในตระกูลเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก คือมารดาบิดา
แก่บุตรภริยา แก่คนรบใช้คนทำงานทั่วไป แก่มิตรอำมาตย์ แก่สมณพราหมณ์ เหมือนอย่าง
มหาเมฆฝนหลวงยังข้าวกล้า ให้ถึงพร้อมงอกงาม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลสุขแก่ตนเป็นอัน
มากฉะนั้น.
หิโต พหุนน์ ปฏิปชช โภเค
บุคคลใดได้ปฏิบัติโภคสมบัติ ดำรงฆราวาสวิสัย เกื้อกูลให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
ติ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตต์
เทวดาย่อมรักษาบุคคลนั้น ผู้อันธรรมคุ้มครองรักษา
พหุสสติ สีลวตูปปนน
ธมฺเม ฐิติ น วิชหาติ กิตติ ។
เกียรติคุณย่อมไม่ละบุคคลนั้น ผู้เป็นพหูสูต มีอรรถและธรรมได้สดับมาประกอบด้วยศีลาจารวัตร
สถิตในธรรม
ธมฺมฏฺฐ์ สีลสมฺปนฺนํ
สจฺจวาที หิรีมน์
เนกข์ ชมโพนทสุเสว โก ต์ นินทิตมรห
ใครควรจะนินทาบุคคลนั้น ผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล มีปกติกล่าววาจาสัตย์ มีหิริอยู่ใน
ใจบริสุทธิ์ดุจแท่งทองชมพูนุท
เทวาปิ น ปสนฺติ
พฺรหฺมุนาปิ ปส์สโต
อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้เทวดาและพรหมก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้