พระราชดำริของสมเด็จพระญาณสังวร มงคลวิเสสกถา หน้า 137
หน้าที่ 137 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๔๑ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในการช่วยเหลือประชาชนในถิ่นทุรกันดาร โดยทรงเริ่มการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ใช้ปัญญาญาณและความสามารถในการคิดค้นแนวทางแก้ไข ที่จะส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตของราษฎรในอนาคต โครงการมีมากมายซึ่งรวมถึงการจัดสรรที่ดิน การปรับปรุงหมู่บ้าน การสนับสนุนสร้างเขื่อน เพื่อเก็บน้ำ รวมทั้งการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินและมลพิษ.

หัวข้อประเด็น

-พัฒนาการช่วยเหลือประชาชน
-ปัญหาที่ดินและน้ำ
-ฝนหลวง
-การปลูกหญ้าแฝก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๔๑ ปัญญาญาณ เป็นเหตุให้เกิดความเบิกบานร่มเย็นเป็นสุขทุกกาลสมัย แม้ในยามเกิดทุกข์ภัยความ ขัดข้อง ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ได้ทอดพระนคร เห็นความเดือดร้อนอันเกิดจากธรรมชาติ และที่กำลังจะต้องเกิดต่อไปแม้ไม่ได้รับการแก้ไขให้ ถูกต้องทันเวลา ทรงเริ่มการแก้ไขปรับปรุงในทันที และเป็นที่ยอมรับกล่าวขานกันทั่วไปว่า นอกจากจะทรงคิดทรงจัดทำแล้ว ไม่มีผู้ใดอื่นจะสามารถ ความสุขสบายโดยควรของผู้คนพลเมือง ทั้งหลายทั้งในปัจจุบัน และจะต่อไปในอนาคต เกิดแต่พระมหากรุณาทรงเหนื่อยยาก และเกิดแก่ พระปัญญาเพ่งพินิจพิจารณาโดยแท้ แนวพระราชดำริที่จะเกิดผลสำคัญต่อไป ขอพระราชทานนำมาถวายพระพรในที่นี้ เพียง ๔ ประการ คือ ๑. พระราชทานแบบตัวอย่างการจัดสรรที่ดินของราษฎรแต่ละครอบครัวประมาณ ๑๘ ไร่ในลักษณะสวนผสม มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นต้น เพื่อให้เพียงพอในการบำรุงชีวิต ๒. การปรับปรุงหมู่บ้านให้ราษฎรมีความอยู่ดีกินดี การขาดแคลนน้ำเป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะพื้นที่ทำกินประกอบด้วยนาข้าว ไร่พืชเศรษฐกิจ สวนผลไม้ และแปลงไม้ดอกฝนทั้งช่วงอย่าง กะทันหันทำให้เกิดปัญหาหนัก ทรงวางแผนปฏิบัติงานช่วยบรรเทาทุกข์อย่างเร่งด่วน ทรงมีพระ ราชกระแสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรให้ ปฏิบัติงานช่วยเหลือ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำภูมิพล พระราชทานฝนหลวงตั้งแต่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ลงไปจนถึงอ่างเก็บน้ำ จังหวัดตาก ทรงติดตามผลอย่างใกล้ชิด เป็นการทรงพระมหา กรุณาธิคุณฝึกเจ้าหน้าที่ให้ตระหนักในความรับผิดชอบในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎร์ และ ให้เริ่มมีความเชี่ยวชาญในการติดตามสภาพน้ำ ที่สำคัญอย่างยิ่ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด สถานีเรดาร์ฝนหลวงที่อำเภออมก๋อย เชียงใหม่ อันเป็นส่วนประกอบสำคัญเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ในการบรรเทาภัยแล้งโดยบังคับให้ฝนตกลงในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ในลุ่มแม่น้ำปิง และ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ในลุ่มแม่น้ำน่าน นอกจากทรงเตรียมน้ำพระราชทานเพื่อการเกษตรแล้ว ยังทรง ห่วงใยภาวะมลพิษในดินที่เกิดจากมีไนโตรเจนในดินมากเกินไป อันจะทำให้แหล่งน้ำเสื่อม คุณภาพเกิดโทษแก่ผู้นำไปบริโภค มลพิษไนโตรเจนเกิดจากการชะล้างพังทลายของหน้าดินจึง ทรงมีพระราชดำริให้ปลูกหญ้าแฝก เพื่อยึดดินไว้มิให้พังทลาย ซึ่งได้ผลดีเป็นอันมาก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More