บทเรียนจากพระเทวทัตต์และพระเจ้าอชาตศัตรู มงคลวิเสสกถา หน้า 243
หน้าที่ 243 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมการที่เหมาะสมในเวลาที่สงบ และการใช้เวลาทำกิจกรรมให้ตรงตามเวลาเพื่อความสำเร็จ โดยยกตัวอย่างจากพระเจ้าอชาตศัตรูและพระเทวทัตต์ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการไม่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป.

หัวข้อประเด็น

-การเตรียมการในช่วงเวลาที่สงบ
-การใช้เวลาอย่างชาญฉลาด
-บทเรียนจากพระเจ้าอชาตศัตรู
-อุทาหรณ์จากพระเทวทัตต์
-ความสำคัญของสามัคคีธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ២៤៨ เป็นประเทศใหญ่ เมื่อยังทรงความเป็นอิสระด้วยตน ก็ชอบแต่จะเตรียม พลพาหนะสั่งสมทรัพย์ พัสดุศัตรวุธ ยุทธภัณฑ์และเสบียงอาหาร จัดการป้องกันรักษาและทำนุบำรุงให้สมบูรณ์ เพื่อจะ ได้เกิดทรัพย์เป็นเครื่องเพิ่มพูนกำลังยิ่งขึ้นไป จนสุดวิสัยที่อาจจะเป็น อันกิจเช่นนี้จำจะต้องทำให้ พร้อมไว้ในเวลาสงบยังไม่มีศัตรูมารบกวน จะปล่อยไว้ให้ขาดตกบกพร่อง จะตระเตรียมเฉพาะใน เมื่อยามต้องการ ไหนเลยจะทัน ดังที่สาธกมานี้. การละเลยให้ล่วงเวลา เป็นเหตุแห่งหายนะเมื่อภายหลัง อนึ่ง ชนผู้ไม่รู้จักกาล แม้เมื่อทำกิจ แต่ทำให้ผิดสมัย คือด่วนทำเสียแต่เมื่อยังไม่ทันถึง เวลา การงานก็ไม่สำเร็จผลดี ข้อนี้จึงเห็นอุทาหรณ์ในเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูผู้ครองแคว้นมคธ ทำสงครามกับพวกกษัตริย์ลิจฉวี ผู้ครองแคว้นวัชชี ในเวลาเธอกำลังตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม พรักพร้อมเป็นสมานฉันท์ ช่วยกันต่อสู้ป้องกันอาณาจักรด้วยความองอาจ ท้าวเธอก็ไม่สามารถจะ ได้ชัยชนะสมหวัง ต่อภายหลังต่อกลอุบายปล่อยวัสสการพรหมณ์มหาอมาตย์ ไปยุยงลิจฉวีราช ให้แตกสามัคคีจากกัน จึงได้มีชัย ตีได้แคว้นวัชชีมาอยู่ใต้อำนาจของพระองค์ สันนิษฐานว่า ครั้งก่อนยังไม่เป็นเวลาการจึงไม่สำเร็จสมหมาย ครั้นภายหลังประกอบกลอุบายถูก คราวจึงสําเร็จได้ นี้เป็นเรื่องสาธก แม้ในคัมภีร์ชาดกท่านก็ได้ยกความข้อนี้ขึ้นแสดง ในบาท คาถา โดยความเป็นราชภาษิตของพระเจ้าคามณีว่า อปิ อตรมานานํ ผลาสาว สมิซุเติ ข้อนี้ก็ให้ลง เออก็ ความหวังในวิบุลผล ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีปรีชาญาณ ค่อยประกอบการงานโดยอุบาย ไม่มักง่ายด่วนเห็นแต่ได้เข้าว่า ดังนี้ อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อถึงเวลาก็หาประกอบกิจที่จะพึงทำไม ปล่อยให้กาลล่วงไปเสีย แล้ว จึง ปรารภจะทำ ณ ภายหลัง เมื่อเป็นดังนี้ ก็จะคลาดจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง ข้อนี้มีเรื่องพระ เทวทัตต์เป็นนิทัศนอุทาหรณ์ พระเทวทัตต์นั้นในภายก่อนที่เธอยังสามารถก็มิได้นิยมในพระ โอวาทอนุศาสน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา ซ้ำก่อเวราฆาตคิดร้ายใน พระองค์ แต่ก็ไม่สำเร็จตามประสงค์ที่มุ่งหมาย ครั้นภายหลังอาพาธหนักเมื่อกำลังพักอยู่ที่คยา สีสประเทศ กลับจิตหวนคิดถึงพระบรมศาสดา อ้อนวอนพวกศิษย์ให้พาไปพระเชตะวัน ยังไม่ทัน ได้เฝ้า ก็พอเกิดวิบัติมาตัดชีวิตสังขาร ซึ่งพระโบราณาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More