ปัญญาและความเพียรในการสร้างฐานะ มงคลวิเสสกถา หน้า 267
หน้าที่ 267 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของบุคคลผู้มีปัญญาและการใช้ความเพียรเพื่อสร้างฐานะในชีวิต ขอยกตัวอย่างเรื่องของทีฆาวุกุมารที่มีความสามารถในการสร้างโอกาส จากการทำงานและแสดงออกถึงความภักดี จนได้รับการไว้วางใจจากพระเจ้าพรหมทัตต์ และได้สามารถคืนฐานะให้ครอบครัวของตน การมีปัญญาการจัดการที่ดีทำให้สามารถต้านทานอุปสรรคต่างๆ ได้ พร้อมทั้งคำสอนที่สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อการสร้างอนาคตที่มั่นคงอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-บทเรียนจากทีฆาวุกุมาร
-ความสำคัญของปัญญาในชีวิตประจำวัน
-การสร้างฐานะด้วยความเพียร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญญาณวรเถร) อปปเกน เมธาวี สมุฎฐาเปติ อตฺตานํ ปากเฏน วิจกุขโณ อณ์ อคคิ้ว สนธม ២៧២ ។ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญา คาดเหตุผลประจักษ์ ย่อมยังตนให้ตั้งขึ้นได้ในยศศักดิ์ศฤงคาร ด้ว ทรัพย์ที่เป็นต้นทุนแม้มีประมาณน้อย ดุจชนก่อไฟนิดเดียวให้เป็นกองโตขึ้นได้ฉะนั้น ทีฆาวุกุมาร พระราชโอรสพระเจ้าที่มีติผู้ครองโกศลรัฐ อุบัติเมื่อภายหลังแต่ พระชนกเสียพระนครแก่พระเจ้า พรหมทัตต์ผู้ครองแคว้นกาสี ได้อาศัยความเพียรด้วยดี ตั้งต้น ไปฝากตนอยู่ในสำนักหมอช้างพระ ที่นั่ง ดีดพิณดังไปถึงพระเจ้าพรหมทัตต์เป็นที่พอพระราชหฤทัย ไม่ทรงทราบว่าเป็นบุตรอมิตร ก็ โปรดให้รับราชกิจโดยมิได้ทรงทรงระแวงทีฆาวุก็แสดงความภักดีแลสามารถเป็นลำดับมา จนพระ เจ้าพรหมทัตต์ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงเป็นคนสนิท ตามเสด็จพระองค์ทุกแห่งสถาน คราวหนึ่งได้ ช่องที่จะปลงพระชนมพระเจ้าพรหทัตต์ แก้แค้นแทนพระบิดา แต่มาระลึกถึงโอวาที่พระชนก ประทานไว้ในข้อว่า จงเห็นยาวดีกว่าสั้น จึงทำอาการเพียงให้ตกพระทัยเท่านั้นแล้วยกพระชนม์ ถวาย ได้โกศลรัฐของตระกูลเดิมเป็นค่าไถ่ กับพระราชธิดาเป็นคู่ครองภายหลังรวมสองพระนคร มาไว้ในอาณาจักรอันเดียวได้ ความเพียงเป็นองค์อันหนึ่งซึ่งยังบุคคลผู้มีปัญญาให้ตั้งตนไว้ในโภค ทรัพย์แลอิสริยยศศักดิ์ ทำตนให้เป็นดังเกาะที่พึงพำนัก ด้วยประการฉะนี้ เหตุดังนั้น สมเด็จพระ สุคตศากยมุนีบรมโลกนาถ จึงประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ว่า อุฏฺฐาเนนปุปมาเทน ทีป์ กยิราถ เมธาวี สญฺญเมน ทเมน จ ย์ โอโฆ นาภิกีรติ ។ ความว่า ชนผู้มีปรีชาควรทำเกาะ กล่าวคือที่พึ่งของตน ให้เป็นตำบลที่ห้วงน้ำจะท่วมไม่ได้ ด้วย ความหมั่นเป็นเหตุลุกขึ้นทำการงานไม่อยู่เฉย ด้วยควาไม่เลินเล่อ ๑ ๑ ด้วยความระวัง แล ด้วยความปราบปราม พระพุทธภาษิตนี้ ให้ได้ความสันนิษฐานลงโดย ๒ นัย คือโดย พยัญชนะแลโดยอรรถ โดยพยัญชนะนัยนั้นว่า เกาะหรือดินแดน ที่ตั้งเป็นประเทศบ้านเมืองอัน เป็นถิ่นฐานของตน ได้ชื่อว่าเกาะ เกาะนี้ชื่อว่าเป็นที่พึ่งของชนผู้เกิดผู้อยู่ในที่นั้น ด้วยความเป็น เจ้าของ เพราะเป็นที่พำนักอาศัย อันตรายภายในภายนอกที่จะพึงเกิดแก่ถิ่นฐาน ได้นามโวหาร ว่าห้วงน้ำ เกาะในมหรรณพถล่มตามลำพังตนเอง เพราะเหตุบันดาลให้เป็นไป เช่น ภูเขาไฟ ระเบิด ห้วงน้ำก็จะเกิดท่วม ทำให้เป็นสมุทร มิฉะนั้น เกาะตั้งอยู่ที่สุดปริ่มน้ำ เมื่อเกิดพายุใหญ่ ทำให้สาครกำเริบจลาจล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More