สหกรณ์และการบำรุงรัฐในพระพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 305
หน้าที่ 305 / 390

สรุปเนื้อหา

บทอธิบายเกี่ยวกับบทบาทของสหกรณ์ในประวัติศาสตร์ไทยและพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการที่พระมหาวิชิตราชใช้สหกรณ์ในการสนับสนุนการทำงานและสร้างความแข็งแกร่งในรัฐ พร้อมทั้งอธิบายว่าแม้กระทั่งในการประพฤติธรรม สหกรณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่ให้เกิดร่วมกันในกิจกรรมทางศีลธรรม อันสามารถนำไปสู่การเห็นอริยสัจจ์ ๔ โดยเน้นถึงความสำคัญของการมีสหกรณ์ในสังคม เพื่อให้ประชาชนที่มีความร่วมมือและมีการทำงานอย่างเป็นระบบสามารถทำให้ชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง...

หัวข้อประเด็น

-สหกรณ์ในประเทศ
-บทบาทพระมหาวิชิตราช
-การบำรุงรัฐในพระพุทธศาสนา
-ศีลธรรมและความร่วมมือ
-อานิสงส์ของสหกรณ์ในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๑๐ สัญชาติให้ถึงความรุ่งเรืองสถาพร สมเด็จพระบรมศาสดาจะแสดงการบำรุงสหกรณ์ อันเป็นรัฐ ประศาสนนัยครั้งโบราณกาล ได้ตรัสเทศนาถึงเรื่องพระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีใจความว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชดำเนินพระราโชบาย เพื่อระงับการเบียดเบียน กันและกัน อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งแผ่นดินกล่าวคือเป็นอุปสรรคแห่งสหกรณ์ ชนจําพวกใดขวน ขวานในการทำนาแลเลี้ยงโค ก็พระราชทานพันธุ์ข้าวปลูกแก่คนจำพวกนั้น ชนพวกใดขวนขวาน ในการค้า ก็พระราชทานต้นทุนแก่ชนจำพวกนั้น เป็นการเพิ่มกำลัง ชนจำพวกใดทำราชการ ก็ พระราชทานเบี้ยเลี้ยง เบี้ยหวัดแก่ชนจำพวกนั้น ชนเหล่านั้นต่างขวนขวานในการของตน ๆ ย่อม ไม่ประทุษร้ายกันพระราชทรัพย์เก็บได้เป็นราชพลี มีจำนวนเป็นกองใหญ่ พระราชอาณาจักรเป็น สุขเกษมสิ้นเสี้ยนหนาม หาความเบียดเบียนกันมิได้ ประชาราษฎร์ชื่นบาน ยังบุตรให้ฟ้อนอยู่ที่ อยู่ราวกับมีประตูเรือนไม่ได้ลงลิ่ม บุคคลหรือคณะผู้รับเนื่องในสหกรณ์ปลีกตนเสียไม่ ทำงานพรักพร้อมกัน ย่อมเป็นเช่นแห่งโกฏฐาสสรีระอันหยุด ไม่ทำหน้าที่หรือทำบกพร่องจัดว่า เป็นโรคเกิดขึ้นในสหกรณ์นั้น เช่นกับโรคเกิดขึ้นในสรีระ ย่อมทอนกำลังหรือนำไปถึงความ พินาศดุจเดียวกัน เช่นโบราณราชธานีกรุงศรีอยุธยา ขาดสหกรณ์แห่งข้าราชการฝ่ายทหารผล เรือน จึงเสียทีแก่พม่าข้าศึก ส่วนกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์นี้ พร้อมมูลด้วยสหกรณ์ จึงบริบูรณ์สมบูรณ์เจริญรุ่งเรือง ตั้งมั่นคงมาได้จนตราบเท่าวันนี้ อก ทำให้แจ้งนิโรธ ๑ แลยัง ในฝ่ายคดีธรรม สหกรณ์เป็นกิจอันจำปรารถนาดุจเดียวกัน การประพฤติสุจริตไม่ครบ ไตรทวาร ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ที่การเห็นอริยสัจจ์ ๔ อันท่านจัดเป็นโลกุตตระ ก็เพราะ ประกอบด้วยสหกรณ์แห่งกิจทั้ง ๔ คือ เห็นทุกข์ ละสมุทัย มรรคให้เกิด ๑ ไม่อย่างนั้นยากที่จะได้ตลอด ถ้าอย่างยิ่งหรือหย่อนไป ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจักไม่มี เพราะอย่างนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นตามอัตถุปปัตติเหตุ เพื่อ พร้อมในขณะเดียวกัน แม้ผู้ประพฤติธรรมก็จำปรารถนาสหกรณ์แห่งผู้อื่นด้วย เป็นบรรทัดแห่งความประพฤติของภิกษุทั้งหลาย ด้วยทรงหมายจะให้ตั้งอยู่ในศีลสามัญญตา ความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน จึงมีชื่อเรียกว่าสิกขาบทนั้น ๆ ว่า สาชีว์ หรือสาชีพ โดยอรรถว่า เป็นเครื่องอาศัยเป็นอยู่ร่วมกัน ภิกษุประพฤติสมควรแก่สิกขาบทนั้น ๆ เรียกว่า สาชีวสมาปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยสาชีพ กล่าวคือเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสหกรณ์รูปหนึ่ง. กิจการของสงฆ์จักสำเร็จแห่ง ภิกษุผู้เนื่องในสงฆ์ ทรงแสดงอานิสงส์สนับสนุนสหกรณ์ว่า ยาวกวญฺจ ภิกฺขเว ภิกขู สมคคา สงฺฆกรณียานิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More