คำสอนเกี่ยวกับความสามัคคีและการเคารพในชุมชน มงคลวิเสสกถา หน้า 286
หน้าที่ 286 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงคำสอนของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในด้านความสามัคคีและการเคารพในชุมชน โดยเน้นถึงความสำคัญของการรักษาธรรมและการดูแลเอาใจใส่กันในกลุ่มคน การรักษาประโยชน์แก่กันและกันจะก่อให้เกิดพหุปปิยตา โดยที่ผู้ใหญ่จะค้ำชูผู้มีน้อยและทำให้สามารถประสบความสำเร็จได้ในความร่วมมือกัน ในท้ายที่สุดได้กล่าวถึงความสำคัญของการทำสักการะเกื้อกูลต่อพ่อแม่และคนในชุมชนเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในสังคม.

หัวข้อประเด็น

- ความสามัคคีในชุมชน
- การเคารพผู้ใหญ่
- ประโยชน์ของการรักษาธรรม
- สำนึกในสังคม
- ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๒๙๑ พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็ให้พร้อมเพรียงกันเลิก ให้พร้อมเพรียงกันทำกิจนั้น ๆ สิ่งใด ๆ ที่ไม่ได้บัญญัติขึ้นโดยสามัคคีธรรม ก็อย่าให้พวกวัชชีบัญญัติขึ้นเอง สิ่งใด ๆ ที่ได้บัญญัติขึ้น แล้ว เช่นนั้นก็อย่าให้เลิกถอนเสียเอง ให้ประพฤติวัชชีธรรมของเก่าก็ที่ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไร แลให้พวกวัชซีเคารพนับถือท่านผู้ใหญ่กว่า อย่าฉุดคร่าภรรยา แลกุมารีในตระกูลของเขาด้วย พลการมาเป็นภรรยา แลเจดียสถานเหล่าใด ซึ่งเป็นที่นับถือของชาววัชชีอันมีในภายในแล ภายนอกพระนคร ให้สักการะเคารพนับถือบูชา เจดียสถานเหล่านั้นอย่าตัดทอนธรรมิกพลีที่เคย ให้เคยทำอยู่แล้วให้เสื่อมสูญ, พระพุทธภาษิต ๒ ข้อนี้เป็นเครื่องสาธกให้เห็นว่า สมเด็จพระบรม ศาสดาจารย์ทรงสั่งสอนชนนิกรที่เป็นหมู่เหล่า ต่างให้รักษาประโยชน์ของกันและกัน บัณฑิตพึง สันนิษฐานโดยนัยนี้แล้วรู้จักผ่อนผันประพฤติ ตามสมควรแก่ชุมชนที่ตนเนื่องอยู่นั้น สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ ในตัปปริยาปันนธรรม คือธรรมของชนผู้เนื่องในหมู่นั้น ๆ จึงให้ เป็นไปในชนที่นับเนื่องเป็นหมู่เดียวกันโดยสมควร ด้วยประการฉะนี้ คุณข้อนี้ย่อมเกิดผล คือ พหุปปิยตา ความเป็นผู้ที่รักของชนเป็นอันมาก. ผลนี้ ย่อม มีประโยชน์แก่ชนผู้นับเนื่องในหมู่ทั่วกันไป ผู้น้อยเป็นที่รักของท่านผู้ใหญ่ก็จะได้รับความอุปถัมภ์ ค้ำชู ชนผู้เสมอกัน ก็ต่างจะได้อาศัยกันท่านผู้ใหญ่เล่า ก็จะได้ผู้น้อยไว้เป็นกำลัง เมื่อกิจเกิดขึ้น ก็จะได้ตั้งใจทำให้สำเร็จด้วยความภักดี สามัคคีคือความพร้อมเพรียงด้วยกายแลจิตก็ย่อมเป็นไป เพราะความรักใคร่ในกันเป็นที่ตั้ง เมื่อเกิดขึ้นในหมู่ใด ก็ยังความเจริญให้เป็นไปในหมู่นั้น สม ด้วยพนจประพันธ์ราชสุภาษิตในพระราชลัญจกรว่า สพฺเพส์ สงฺฆภูตาน สามคฺคี วุฑฒิสาธิกา สามัคคีย่อมยังความเจริญให้สำเร็จแก่ชนทั้งหลาย ผู้เป็นหมู่กันทุกเหล่า ดังนี้ เมื่อกล่าว โดยสังเขป ผู้ใดที่เป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ผู้นั้นย่อมหวังความเจริญได้ คงไม่มีความเสื่อม ทราม แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสแก่เจ้ามหานามลิจฉวีแสดงกิจของผู้ดำรงฆราวาส จะพึงทำเพื่อผลนี้ ในอปริหานิยธรรมสูตร ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย สรุปความว่า กุลบุตร ผู้ใดผู้หนึ่ง ตั้งต้นแต่พระมหากษัตริย์เจ้าตลอดลงไปถึงอธิบดีเฉพาะตระกูล ทำสักการะเกื้อกูล มารดาบิดาจำพวกหนึ่ง บุตรภรรยาทาสกรรมกร ซึ่งนับว่าอันโตชนจำพวกหนึ่ง ชาวนาเพื่อน บ้านลูกค้า ซึ่งนับว่าพาหิรชนจำพวกหนึ่ง เทวดาผู้รับพลีกรรม คือารักขเทวดา แลวัตถุเทวดา จำพวกหนึ่ง สมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More