ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
มาตาเปติภร์ ชนต์
สณห์ สขิลสมุภาส
มจฺเฉรวินเย ยุตต์
ติ เว เทวา ตาวสา
กุเล เชฏฐาปจายน
เปสุเฌยฺยปุปหายินํ
สจฺจํ โกธาภิ
นริ
อาหุ สปปุริโส อิติ ฯ
๑๖
เทพเจ้าชั้นดาวดึงส์สวรรค์ ได้กล่าวเรียกยนชนผู้เป็นคนเลี้ยงมารดาบิดา สัมมาคารวะแก่
ผู้ใหญ่ในตระกูล มีวาจาละเอียด เจรจาแต่ถ้อยคำอันจะนำให้เกิดมิตรสันถวะเว้นคำส่อเสียดให้เขา
แตกร้าว ประกอบตนในอุบายเครื่องบำบัดมัจฉริยโทษ ตั้งอยู่ในสัตย์ในธรรม ครอบงำความ
โกรธเสียได้ ว่าเป็นสัปปบุรุษ ดังนี้ อนึ่ง พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงเจริญพระชนมายุกว่า และข้า
ทูลละอองธุลีพระบาทผู้เจริญพระวยายุกาล สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระราชทาน
เงินตรากับผ้ารดน้ำเสมอมา ข้อนี้อนุโลมเข้าในอปจายนธรรม มาในคำประพันธ์ว่า
ปฏิบัติ
ด
เย วุฑฒมปจายนฺติ
นรา ธมฺมสฺส โกวิทา
ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ ปาสา สมุปราโย จ สุคติ ฯ
G).
ในวุฑฒบุคคล
๓
ความว่า ชนทั้งหลาย เหล่าใด ฉลาดในธรรม ย่อมมาคำนับนบนอบผู้เจริญเป็นอาจิณ
ชนเหล่านั้น อันบัณฑิตจะพึงสรรเสริญในปัจจุบันและสัมปรายภพเบื้องหน้า ของชน
เหล่านั้น ก็เป็นสุคติดังนี้ ในคาถานี้แสดงวุฑฒบุคคลเป็นสรรพสาธารณะไม่มีจำกัด ควรจัด
ประเภทพรรณนาได้เป็น ๓ ประเภทคือ ชาติวุฑโฒ ผู้เจริญโดยชาติ ๑ วยวุฑโฒ ผู้เจริญโดย
วัย คุณวุฑโฒ ผู้เจริญโดยคุณ
ประเภทนั้น ท่านผู้เจริญโดยชาติที่
มหาชนนับถือว่าเป็นใหญ่ มีกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น ชื่อว่า ชาติวุฑโฒ ผู้เจริญโดยชาติ ผู้ใหญ่
โดยกำเนิด ท่านผู้สูงอายุ ชื่อว่า วยวุฑโฒ ผู้เจริญโดยวัยผู้ใหญ่โดยอายุกาลท่านผู้ทรงคุณสมบัติ
ความดีในสันดานมาก ชื่อว่า คุณวุฑโฒ ผู้เจริญโดยคุณ ผู้ใหญ่โดยความดี, วุฑฒบุคคล ๓
ประเภทนี้ ควรแก่อปจายนกรรม คือ อภิวาทน์ การกราบไหว้ ปัจจุฏฐาน การลุกขึ้นรับ
อาสนทาน การให้อาสนะที่นั่ง มคฺคทาน การหลีกทางให้ สกการครุการมานนปูชา ทำสัก
การเคารพนับถือบูชา เมื่อบุคคลมาเคารพนบนอบวุฑฒบุคคลทั้ง นั้น ด้วยอาการมาตรว่าพอ
เป็นสามีจิกรรม ก็อาจเปลื้องคำครหา และห้ามกิริยาไม่สุภาพเสียได้ ทำตนให้เป็นคนมีอัธยาศัย
อันงาม ได้นามว่า ปริสญญู ผู้รู้จัก
(๑) สํ. ส. ๑๕/๓๓๕. (๒) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๒
๓