ข้อความต้นฉบับในหน้า
๓๔๓
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
ของท่านผู้เป็นมหาบุรุษ ทั้งฝ่ายคฤหัสถ์ ทั้งฝ่ายบรรพชิต ด้วยประการนี้ แม้เป็นธรรมที่ดีก็จริง
ถึงอย่างนั้น ให้เป็นไปไม่ถูกทาง ก็จักไม่สำเร็จประโยชน์ หรือกลับจะให้โทษก็ได้ ต่อให้เป็นไปถูก
ทาง จึงจักให้ผลข้างดี อุปมาเหมือนเภสัชลางขนาน อันเป็นเครื่องแก้โรคลางอย่าง เอาไปใช้วาง
แก้โรคชนิดอื่น ไม่พึงระงับโรคนั้นได้ ถ้าเป็นยาแสลงก็อาจยังโรคนั้นให้กำเริบขึ้นได้ ต่อใช้ยาถูก
โรคจึงจะระงับ ขันติก็มีอุปไมยฉันนั้นให้เป็นไปผิดทาง ลางที่ก็จะเป็นเช่นคำของอสุรินทร์เวปจิตติ
กล่าวว่า
ยทา นํ มญญัติ พาโล
อชฌารูหติ ทุมเมโธ
ภยา มยาย ติกฺขติ
โคว ภัยโย ปลายน
คนพาลย่อมสำคัญเสียว่า คนนี้อดนิ่งเพราะกลัวเรา เขาเป็นผู้หาปัญญามิได้ ย่อมเข้าครอบงำ
เหมือนโค ยิ่งหนีก็ยิ่งไล่ ต่อให้เป็นไปถูกทาง จึงจะยงประโยชน์ให้สำเร็จสมพระวาจาของอมรินท
ราธิราชว่า อุภินนมตฺถ์ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ คนผู้ไม่โกรธตอบ กลัวคือคนมีขันติ ชื่อว่า
ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ตนแก่ผู้อื่นทั้งสองฝ่าย เหตุดังนั้น สมเด็จพระชินสีห์จึงตรัสบรรยายไว้
ในอุปเสนธรรม ๔ ว่า สงฺขาเยกก อธิวาเสติ แปลว่า ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมพิจารณาแล้ว
จึงอดทนเหตุอย่างหนึ่งด้วยพระวาจานี้ ทรงแสดงขันติที่พิจารณารอบคอบแล้วจึงให้เป็นไปว่า
เป็นธรรมเหมือนหนักที่อิงอาศัยได้ประการหนึ่ง แม้สมณะมีขันติเป็นธรรม ถึงอย่างนั้น สมเด็จ
พระบรมศาสดายังได้ทรงพระอนุญาตให้พระอุปัชฌายะประณาม สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบให้
สงฆ์ทำปัพพาชียกรรมขับภิกษุลามกเสียจากอาวาส แลให้ทำพิธีคว่ำบาตรประณามอุบาสกผู้ดูหมิ่น
แลประพฤติล่วงเกินพระศาสนา ต่อเมื่อกลับประพฤติชอบแล้ว จึงให้ระงับประณาม ไม่เช่นนั้น
ความลามกของคนเหล่านั้นก็จะกำเริบมากไป อีกทางหนึ่ง เมื่อคนเหล่านั้นรู้สึกผิดแลกลักทำดีแล้ว
แต่จะไม่ได้รับยกโทษ ก็จะหาทางแก้ตัวมิได้ จะกลายเป็นคนสิ้นหวังเลิกมุ่งหาทางดี, ขันติที่ให้
เป็นไปในทางรักษาสามัคคีแลความสงบ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์ตนแลประโยชน์ผู้อื่นทั้งสอง
ฝ่าย ดังสมเด็จอมรินทราธิราชตรัสจึงจัดเป็นมงคลอันพิเศษประการที่ต้น
โสรัจจะ นั้น แปลตามพยัญชนะว่า ความยินดีในธรรมอันงาม แสดงโดยอรรถได้แก่
ความสงบเสงี่ยมความแช่มชื่น มีอาการจะพึงกำหนดรู้ดังนี้ ไม่พอใจในที่จะวิวาท แก่งแย่งกับ
ผู้อื่น หากจะเกิดขึ้นก็หาทางระงับโดยอ่อนโยน ตามแต่จะเป็นได้ เช่นแต่งคน กลางให้เป็นผู้
เปรียบเทียบ แลย่อมทำตาคำของคนกลางนั้น มีเรื่องในสักกสังยุตว่า