คุณค่าของกัตตุกัมยตาฉันทะในพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 373
หน้าที่ 373 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ความสำคัญของกัตตุกัมยตาฉันทะซึ่งเป็นหลักการในพุทธศาสนา โดยแสดงถึงความหมายว่าเป็นการทำหน้าที่เพื่อให้เกิดความดีความงาม นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงการประทานธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ช่วยส่งเสริมให้มนุษย์สามารถทำความดีให้สำเร็จ จากการทำกิจที่ดีนั้นนำไปสู่วิถีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคง ความพยายามและการไม่ทอดทิ้งวิริยะจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติพุทธศาสนาได้รับผลแห่งการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-กัตตุกัมยตาฉันทะ
-พระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของการทำดี
-การประทานธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-วิริยะและความมุ่งมั่นในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๗๘ ได้ทำ ฉันทะนี้เอง เมื่อทำไป แม้หากจะไม่สำเร็จก็ยังจะ ได้อัสสาทะคือ ความสบายใจว่า สมควร ตนเองย่อมติตนเองไม่ได้ ทั้งวิญญูชนก็ย่อมสรรเสริญ การทำที่เว้นจากครหาอันเป็น สหธรรมของตนและผู้อื่น ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแต่งก็ความร้อนใจในภายหลัง ฯ ฝ่ายบุคคลผู้สิ้นหวัง แล้ว ทอดเพียรเสียย่อมไม้พ้นจากครหาไปได้ ผู้อื่นจะติก็ทำเนา ตนติตนได้นั่นแลเป็นสำคัญ ข้อนั้นย่อมเกิดวิปปฏิสารเมื่อปลายมือ วาทไว้ว่า แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานบรมพุทโธ สิญฺจ ภิกขุ อิม นาว สิตตา เต ลหุเมสฺสติ ฯ ดูก่อนภิกษุ ท่านจงวิดเรืออันนี้ เรือที่ท่านวิดแล้วจักพลันถึง ข้อซึ่งพระองค์ ตรัสดังนี้ ก็เพื่อจะ ยังกัตตุกัมยตาฉันทะให้เกิดแก่ภิกษุผู้รับเทศนา ควรเป็นอุทาหรณ์ สำหรับพุทธศาสนิกชนทั้ง ปวง ผู้ประกอบกิจอันเป็นไปเพื่อความดีความงามแก่ตน และผู้อื่น ฯ เรือในที่นี้เป็นแต่คำเปรียบ เรือเป็นที่ตั้งอาศัยในการไปโดยชลมารค หรือ ข้ามฟากไปฝั่งโน้น ถ้าเรือรั่วน้ำเข้าได้ การไปก็ไม่ สะดวกพาให้ช้า หรือน่าจะอัปปาง ลงก็ได้ ถ้าคนในเรือหมั่นวิด คิดอุบายแก่อย่าให้รั่วได้ ก็จะ รอดจากอันตราย เป็นของเบาแล่นไปถึงเร็ว อัตภาพการงานถิ่นฐาน ตลอดถึงบ้านเมือง ก็ เหมือนกัน ฯ ย่อมเป็นที่ตั้งอาศัยในอันท่องเที่ยวอยู่ในภพนั้น ๆ ถ้าไม่มั่นคงและเสียหายลงในทาง ใดทางหนึ่ง ก็จะชักช้าไม่สามารถที่จะลุถึงความเจริญทีเดียว ถ้าเจ้าของเอาเป็นธุระ ระวังความ เสียหายอย่าให้เกิดขึ้น ไม่ให้ถอยหลัง ก็จะพลันถึงความเจริญไม่ตกต่ำในภพนั้น ๆ กัตตุกัมยตา ฉันทะย่อมพยุงวิริยะ เพื่อสำเร็จแห่งผล ด้วยประการฉะนี้ ฯ แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็ทรงอาศัยกัตตุกัมยตาฉันทะ อันเป็นผลแห่งพระมหา กรุณาจึง ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและทรงบำเพ็ญพุทธกิจประดิษฐานพระพุทธศาสนา สำเร็จ ไม่เช่นนั้นไฉน เลยพระองค์จะกล้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์และอดทนลำบากในเวลา บำเพ็ญทุกกกิริยา ก็จะคิดกลับหลังไม่บากบั่น เป็นอันตกอยู่ในอำนาจแห่งมาร และเมื่อได้บรรลุ พระโพธิญาณแล้ว ทรงพิจารณาเห็นธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั้นเป็นคุณสุขุม เกินไป ยากที่คนผู้ ยินดีอาลัยจะรู้ตามเห็นตาม พระหฤทัยก็น้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย พุทธดำริ เพื่อจะแสดงธรรม แต่หากกัตตุกัมยตาฉันทะอันกำลัง พระกรุณาเข้าอุปภัมภ์เป็นไป จึงหาทรงทอดธุระไม่ หวนพิจารณาไปก็ทอดพระเนตรเห็นผู้มีปัญญาสามารถจะรู้ตามก็ ยังมี ฝ่ายคนนอกนี้แม้ยังมีอุปนิสัยไม่แก่กล้า ได้สดับพระธรรมเทศนา กล้า ยังไม่ทรงพระ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More