ความสำคัญของการดูแลผู้อื่นในชุมชน มงคลวิเสสกถา หน้า 39
หน้าที่ 39 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สอนให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาประโยชน์ของกันและกันในหมู่ชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งระบุว่าเมื่อผู้คนใส่ใจดูแลผลประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ของตนเองก็จะมั่นคงและยั่งยืนตามไปด้วย กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องในสังคม การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ และการเน้นความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ การที่ทุกคนช่วยเหลือและเคารพซึ่งกันและกันจะทำให้เกิดความสงบสุขในชุมชน และหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่น
-หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
-การดูแลชุมชน
-ความสามัคคีในสังคม
-การรักษาประโยชน์ของกันและกัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ๓๙ อีกประการหนึ่ง ชนผู้นับเนื่องในหมู่เดียวกันประพฤติตามฉันที่เป็นพวกเดียวกัน ไม่คิดอา รัดเอาเปรียบ ต่างรักษาประโยชน์ของกัน ดังนี้ ได้ชื่อว่าประพฤติตนสม่ำเสมอในตัปปริยาปันน ธรรม คือ ธรรมของชนผู้เนื่องในหมู่นั้น ธรรมดาชนผู้นับเนื่องในหมู่เมื่อคิดจะรักษา ประโยชน์ตน ก็ต้องรักษาประโยชน์ผู้อื่น ด้วยเหมือนกัน ประโยชน์ของตนจึงจะมั่นคงถาวร ถ้าเห็น แต่ได้และตัดรอนประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ตนก็จะไม่ยั่งยืนอยู่ได้ เหมือนดังไม้หลาย ๆ อันที่ตั้ง ยันกันอยู่ มีผู้ชักออกเสียจนมีกำลังไม่พอจะทานกันไว้ได้ ก็ต่างจะล้มฉะนั้น แม้พระพุทธภาษิต ในปกิณณกวรรค แห่งพระธรรมบทก็ได้ แสดงความข้อนี้ไว้โดยบรรยายว่า ปรทุกฺขปธาเนน โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ บุคคลผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งทุกข์ให้แก่ผู้อื่น เวรสํสดุค สฏฺโฐ เวรา โส น ปริมุจฺจติ บุคคลนั้นระคนอยู่ด้วยสังสัคคะคือเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวรได้ ดังนี้ เหตุดังนั้น สมเด็จพระบรม โลกนาถเจ้า จึงตรัสสั่งสอนคนที่เป็นหมู่เหล่าให้ประพฤติถ้อยคำที่รักษาประโยชน์ของกันและกัน ข้อนี้จึงสันนิษฐานตามพระบรมพุทโธวาท ที่โปรดประทานแก่ภิกษุสงฆ์ให้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยจิตเมตตาในกันและกัน เฉลี่ยลาภที่หาได้สู่กันบริโภค มีศีลเสมอกัน มี ทิฏฐิเสมอกัน ให้เคารพนับถือภิกษุเถระผู้ใหญ่ในสงฆ์ และตั้งใจปรารถนาเพื่อนสพรหมจารีที่ยังมี ได้มา ให้มาสู่อาวาส ที่มาแล้ว ให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นอาทิ. และพระบรมพุทโธวาทที่โปรด ประทานแก่คฤหัสถ์ถชน ในข้อนี้นั้นพึงสันนิษฐานตามความในอปริหานิยธรรมสูตร ที่ตรัสสอน พวกเจ้าลิจฉวีบางข้อ อนุโลมแก่การปกครองอาณาจักรวัชชีซึ่งมีประเพณีเป็นคณานุศาสตร์ คือ การปกครองด้วยความเป็นหมู่ เจ้าลิจฉวีทั้งหลายพร้อมกันเป็นคณะผู้บัญชากิจการบ้างเมืองทั่วไป ไม่มีใครเป็นอิสระเฉพาะตน เป็นแต่มีหัวหน้าผลัดเปลี่ยนกันตามวาระประชุม พร้อมกันในสัณ - ฐาคารสถาน วินิจฉัยกรณียกิจไปตามสมควร ให้พวกวัชชีหมั่นประชุมกัน เมื่อถึงคราวประชุมก็ ให้พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็ให้พร้อมเพรียงกันเลิก ให้พร้อมเพรียงกันทำกิจนั้น ๆ สิ่งใด ๆ ที่ไม่ได้บัญญัติขึ้นโดยสามัคคีธรรม ก็อย่าให้พวกวัชชีบัญญัติขึ้นเอง สิ่งใด ๆ ที่ได้บัญญัติขึ้น แล้วเช่นนั้น ก็อย่าให้เลิกถอนเสียเอง ให้ประพฤติวัชชีธรรมของเก่าที่ (๑) ขุ. ธ. ๒๕/๕๓. ໆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More