ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๑๖๑
(การลักทรัพย์) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลายศาสตราก็ได้ ถึง
ความแพร่หลาย เมื่อศาสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ก็ได้ถึงความ
แพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาท (พูดเท็จ) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ก็ถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจาร
(ประพฤติผิดในกาม) ก็ถึงความแพร่หลาย โดยทำนองเดียวกันผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) สัมผัป
ปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) อภิชฌา (โลภเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น) พยาบาท (มุ่งปองร้อย) มิจฉาทิฐิ
(เห็นผิด) ก็ถึงความแพร่หลาย ต่อจากนี้ ๓ ประการ คือ อธรรม ราคะ (ความติดใจยินดีโดย
ไม่ชอบธรรม วิสมโลภะ (โลภไม่สม่ำเสมอ) มิจฉาธรรม (ประพฤติผิดชั่วร้ายต่าง ๆ ) ก็ได้ถึง
ความแพร่หลาย นอกจากนี้ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่
ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ความไม่อ่อนน้อมต่อตระกูลผู้ใหญ่ในตระกูล
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออกุศลธรรมบถและอธรรมปฏิบัติเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย
วรรณะ ของสัตว์เหล่านั้น คือของมนุษย์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอยจนในที่สุด เมื่ออกุศลกรรมบถ
และอธรรมปฏิบัติแรงที่สุด ก็จักสำคัญกันและกันว่า เป็นเนื้อ เหมือนนายพรานเห็นเนื้อ จัก
ทำลายล้างกันและกันด้วยศาสตราทั้งหลาย อันคมอยู่ ๗ วัน เรียกว่า สัตถันตรกัปป์ (กัปป์ที่
พินาศในระหว่างด้วยศาสตรา) ผู้ที่หนีไปอยู่ในป่าจึงรอยตาย
อายุ
สัตว์คือมนุษย์ทั้งหลายที่รอดตายจึงเริ่มได้สติคิดว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็น
ปานนี้ เหตุเพราะสมาทานอกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรทำกุศล งดเว้นปาณาติบาต จึง
เริ่มเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเห็นมีผลดี จึงเริ่มทำกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไป งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากปิสุณวาจา งดเว้น
จากผรุสวาท งดเว้นจากสสัมผัปปลาะ ละอภิชฌา ละพยาบาท ละมิจฉาทิฐิ ละอธรรมราคะ
ละวิสมโลภะ ละมิจฉาธรรม ปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ
ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เพราะเหตุที่สมาทานกุศล
ธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง
สรุปความว่า อกุศลธรรมทั้งปวง มีอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น เป็นเหตุเสื่อมถอยอายุ
วรรณะ ส่วนกุศลธรรมทั้งปวงเป็นเหตุเจริญอายุวรรณะ ศีลที่ตรัสว่า เป็นเครื่องเจริญวรรณะก็
รวมอยู่ในกุศลกรรมบถ
๑๐ นนเอง