ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
ความชั่วทําความดี
๒๑๓
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ชอบทำชั่วไม่ชอบทำดี แต่ก็อยากเป็นคนมี
เกียรติ มีความดี ใครว่าไม่ดีเป็นไม่ได้ ฉะนั้น อธิษฐาน ในเหตุจึงเป็นข้อสำคัญ คือตั้งใจมุ่งมั่น
ในการทำเหตุให้ได้ผลที่ประสงค์ให้ดำเนิน โดยสม่ำเสมอมีความเพียร คือ พยายามทำไป มีขันติ
มีความอดทน มีสัจจะ คือความจริง และรักษาอธิษฐาน คือความมุ่งมั่นตั้งใจไว้เสมอ
ย
มีอีก
๓ ขอ
ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า วิริยะ เพียร ขันติ อดทน สัจจะ จริง และอธิษฐานะ
ทง ๔ ประการนี้เป็นธรรมมะที่มีประกอบกันอยู่ เมื่อยกขึ้นข้อหนึ่ง ก็ยอมมีอีก
ประกอบด้วยเสมอ ไม่เช่นนั้น จะไม่ได้เลยสักข้อเดียว เช่นอธิษฐานความตั้งใจมุ่งมั่นในที่นี้ ถ้าไม่
๓ ข้อ เป็นอธิษฐาน ก็สำเร็จอธิษฐานขึ้นมาไม่ได้ ท่านได้เล่าชาดกแสดง พระโพธิสัตว์
ทรงบำเพ็ญบารมีข้อนี้มาในชาติต่าง ๆ เป็นอันมาก ในทศชาติได้ยกเนมิราชชาดกเป็นตัวอย่าง
แห่งอธิษฐานบารมี มีเรื่องย่อในเนมิกราชชาดกนั้นว่า กษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า เนมิ
ราช ครองเมืองมิถิลา ในแคว้นวิเทหะ เป็นกษัตริย์ที่สนพระราชหฤทัยในการกุศลโปรดการทำ
กุศลทรงบริจาคทาน รักษาศีลอุโบสถอยู่เป็นนิตย์ ตามขัตติยะประเพณีผู้ครองเมืองมิถิลานี้ เมื่อ
ครองพระราชสมบัติจนมีพระชนมายุเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ก็ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส
แล้วพระองค์ก็ออกทรงผนวช แต่พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญทานอยู่เป็นนิตย์
ทรงมีพระราช
ปุจฉาในปัญญาว่า ทานกับพรหมจรรย์อย่างไหน จะมีผลมาก ไม่มีใครจะถวายวิสัชนาได้ ร้อนถึง
ท้าวสักกเทวราช เสด็จมาทรงอธิบายผลของพรหมจรรย์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากกว่าทาน และด้วยความ
ประสงค์ของทวยเทพ ให้เชิญนำพระเจ้าเนมิราชเสด็จไปเยี่ยมเทวโลก ท้าวสักกเทวราชจึงส่งมาตุ
ลิเทพบุตรมาเชิญ และนำพระเจ้าเนมิราชเสด็จไปทอดพระเนตรนกก่อน แล้วจึงนำเสด็จไปเท
วโลก หลังจากได้ทอดพระเนตรเห็นนรกสวรรค์แล้ว พระเจ้าเนมิราชก็ทรงเห็นว่า แม้พระองค์ได้
ทรงบำเพ็ญทานอย่างมากมายแล้วก็ตาม
แต่พระองค์ก็ควรเสด็จออกผนวชเพื่อประพฤติ
พรหมจรรย์อีก ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จออกผนวชตาม พระราชจริยานุวัตรของกษัตริย์องค์ก่อน
ๆ ในชาดกนี้แสดงว่าพระเจ้าเนมิราชได้ทรงมีอธิษฐาน คือความตั้งพระทัยมุ่งมั่นในเหตุที่พึงทำ
และในผลที่พึงได้ด้วยปัญญาดังที่ได้ทรงตั้งปัญหาขึ้น และทรงแสวงหาผู้มีสามารถจะแก้ปัญหาของ
พระองค์ได้ด้วยความตั้งพระหฤทัยมุ่งมั่นจึงได้ทรงพบผู้มาถวายวิสัชนา ได้แจ่มแจ้งอย่างเปิดนรก
สวรรค์ให้เห็น ทำให้พระเจ้าเนมิราชทรงได้รับความเข้าพระราชหฤทัยแจ่มแจ้งว่า เพียงแต่ทาน
อย่างเดียวที่ทรงบำเพ็ญอยู่หาเป็นการเพียงพอไม่ควรจะต้องปฏิบัติในพรหมจรรย์ด้วย ชาดกนี้
แสดงว่า ผู้ที่ต้องการแสวงหาความจริง