ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑
๑
๓๔๕
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
อันคุมความสามัคคดีแลอุปถัมภ์ให้ดำรงมั่น, เหตุดังนั้น พระโบราณจารย์จึงได้แสดงไว้โดยความ
เป็นกรณียะของพระเจ้าแผ่นดินประการหนึ่ง ในสังคหะวัตถุกถาและจักรพรรดิวัตร. ในสังคหะ
วัตถุกถานั้น ท่านแสดง สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ สสสเมธ์ ทรงพระปรีชา ในการบำรุง
ธัญญาหารให้บริบูรณ์ในพระราชอาณาเขต ปุริสเมธ์ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์ราชบุรุษ
สมมาปาส์ ทรงรู้จักผู้คล้องน้ำใจคนให้นิยมยินดี ๑ วาจาเปยย์ ตรัสพระวาจาอ่อนหวาน
ควรดื่มไว้ในใจทำความเป็นที่รักให้เกิด ๑ สังคหวัตถุนี้ เป็นอุบายวิธีให้เกิดรัฐสมบัติ ซึ่งได้นาม
บัญญัติว่า นิรคคล สถานที่ราบคาบปราศจากโจรภัย จนถึงมีทวารเรือนไม่ต้องลงกลอนเป็นคำรบ
๕. กสิกรรมการทำนาเป็นกำลังใหญ่ของประเทศแถบบุรพทิศดุจภาษิตว่า นตฺถิ ธัญญสมิก ธน
ทรัพย์อันเสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี เมื่อราษฎรทำนาได้ผลดี ประเทศย่อมสมบูรณ์ การบำรุง
กสิกรรมจึงเป็นกรณียะของพระเจ้าแผ่นดินประการหนึ่ง, แลราชบุรุษผู้รับราชการ จึงเป็นผู้ควรจะ
ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต แลเป็นกำลังในราชกิจ จึงเป็นผู้ควรทรงยก
ย่องไว้ในฐานันดร เพื่อมีอำนาจในราชกิจอันเป็นหน้าที่ การบำรุงราชบุรุษ จึงเป็นกรณียะของพระ
เจ้าแผ่นดินอีกประการหนึ่ง, พณิชกรรมการค้าขาย่อมเป็นสำคัญของประเทศส่วนหนึ่ง คู่กับกสิ
กรรมการค้าขาย ย่อมเป็นสำคัญของประเทศส่วนหนึ่งคู่กับกสิกรรม เมื่อพวกพาณิชทำการค้าขาย
มีผลประเทศย่อมมั่งคั่งด้วยทรัพย์สินพระเจ้าแผ่นดินจึงควรทรงเป็นราชธุระในอันบำรุงการค้าขาย
ให้เป็นไปสะดวก นี้ท่านเรียกว่า สมมาปาส์ ทรงรู้จักผูกคล้องน้ำใจคน, วาจาย่อมเป็นเครื่องส่อ
อัธยาศัยของบุคคล เมื่อพระเจ้าแผ่นดินตรัสแก่ชนทั้งหลายด้วยพระวาจาอ่อนหวาน
ปฏิสันถารทักทายโปรยปรายทั่วไป เขาย่อมเห็นพระราชอัธยาศัย่าทรงพระเมตตาอารี แต่นั้นก็จะ
ยินดีรักใคร่ในพระองค์, การตรัสพระวาจาอ่อนหวาน จึงเป็นกรณียะจะพึงทรงอีกประการหนึ่ง
เมื่อประชาชนทุกจำพวกได้รับทำนุบำรุงให้มีกำลังเลี้ยงตนได้แล้ว ประเทศย่อมสงบราบคาบจาก
ทรง
โจรภัย มีเรื่องเล่าไว้ว่า พระเจ้ามหาวิชิตราทรงพระราชดำริจะระงับโจรภัยในพระราชอาณาเขต
ทรงพระสันนิษฐานตามคำของพราหมณ์ปุโรหิตว่า แต่ลำพังจับมาลงพระราชอาชญาไม่สามารถจะ
ระงับได้ต่อไปอีก พระองค์ทรงตั้งอยู่ในพระราโชบายทรงสงเคราะห์ชนชาวนาด้วยพันธุ์พืชข้าปลูก
แลเครื่องอุปกรณ์สำหรับทำนา ทรงอุปถัมภ์