การปฏิสันถาร: ธรรมเนียมไทยในการต้อนรับแขก มงคลวิเสสกถา หน้า 52
หน้าที่ 52 / 390

สรุปเนื้อหา

การปฏิสันถารเป็นประเพณีที่สำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะเมื่อมีแขกมาเยือน ผู้ที่ต้อนรับต้องแสดงความเคารพและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถเห็นได้จากพุทธประวัติในพระเวสสันดรและการปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้เคารพและต้อนรับแขกอย่างเหมาะสม ทั้งในฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งต้องทำหน้าที่นี้ตามประเพณีและจริยธรรมของสังคม งานต้อนรับยังสะท้อนถึงการมีเมตตาจิตซึ่งเป็นหลักสำคัญของการดำเนินชีวิตตามพระธรรมคำสอน พบได้ว่าแม้พระภิกษุเองก็ต้องปฏิบัติภารกิจนี้เมื่อมีอาคันตุกะมาถึง โดยส่งเสริมให้เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และบริจาคตามฐานะ

หัวข้อประเด็น

-ปฏิสันถาร
-ธรรมปฏิสันถาร
-การต้อนรับแขก
-ประเพณีไทย
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ๕๒ อันการแผ่เผื่อนั้นชอบเป็นไปโดยชอบ เช่นแสดงตนตามฉันที่ควรจะเป็นอย่างไร และยังแขกผู้มา นั้นให้ได้รับความยกย่องนับถือและเอื้อเฟื้อสมแก่เขาเป็นอาทิ ดังนี้เรียกว่า ธรรมปฏิสันถาร การปฏิสันถารนี้ เป็นประเพณีที่นิยมสืบมาของโบราณบัณฑิตนอกพุทธุปบาทสมัยแม้แขก นั้นมาดีมาร้ายอย่างไร ก็สำคัญเห็นเป็นกิจที่ควรทำตามหน้าที่ ความข้อนี้จึงสาธกด้วยพระ เวสสันดรทรงทำปฏิสันถารแก่พราหมณ์ชูชกผู้มาทูลขอ ๒ พระกุมาร และแต่ท้าวมัฆวานเทวราช ผู้จำแลงเพศเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี พระองค์ตรัสปราศรัยให้เกิดความยินดีแล้ว เชิญให้ ล้างเท้าแล้วให้เข้าไปในอาศรมบท จึงเลือกบริโภคผลาผลมธุรสเป็นของป่า และดื่มวารีใสเย็นเป็น ของตักมาจากธารเขาตามชอบใจ ครั้นมาถึงพุทธุปบาทสมัย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัส สอนให้เคารพ ในปฏิสันถารเหมือนกัน แม้ฝ่ายบรรพชิตก็ยังไม่พ้นจากต้องทำ เมื่อมีอาคันตุกะ มาถึงสำนัก ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสจะต้องต้อนรับโดยกิจวัตร ถึงมีข้อห้ามไม่ให้สัทธาไทย คือขอที่เขาถวายด้วยศรัทธาให้ตกไป คือห้ามมิให้แจกจ่ายแก่คฤหัสถ์ผู้มิได้เกี่ยวข้อง ให้เจ้าของ เสียสัทธาและ มีข้อห้ามมิให้ทำยารักษาผู้อื่นผิด ๆ พลั้ง ๆ แต่ถ้าคนเหล่านั้น มายังอาวาสโดย ฐานเป็นแขกควรได้รับการปฏิสันถาร ภิกษุจะสงเคราะห์ด้วยโภชนาหารและสิ่งต่าง ๆ ที่ควร ปรารถนาหรือเขาเจ็บไข้จะประกอบยาให้ตามความรู้ความเข้าใจก็ไม่มีโทษ จะเป็นความดีแต่ ต้องมีเมตตาจิตเป็นที่ตั้งไม่หวังจะได้ลาภผลเป็นของตอบแทนอุปการ, แม้สมเด็จพระบรมศาสดา จารย์เอง ก็ยังต้องทรงเป็นกิจวัตร เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุปริษัทผู้อยู่ตำบล พออยู่กาลฝน ถ้วนไตรมาสแล้ว ก็มาเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาค พระองค์ก็ตรัสปราศรัยแก่ภิกษุอาคันตุกะผู้มา จากทิศนั้น ๆ ตามการณ์ เป็นต้นว่า ตรัสถามถึงผาสุวิหารการอยู่สบาย การเลี้ยงชีพ และการ เดินทาง เมื่อได้ทรงทราบเรื่องแล้ว บางคราวทรงบัญญัติอนุศาสน์เป็นธรรมปริยายตามสมควร แก่อัตถุปปัตติเหตุ, โปรดให้จัดเสนาสนะประทานเป็นพิเศษบ้างก็ดี แม้แต่เหล่าเดียรถีย์ก็ยังได้รับ พุทธปฏิสันถารไม่ยกเว้น ในฝ่ายคฤหัสถ์ปฏิสันถารก็จำเป็นจะต้องประพฤติตามหน้าที่ จัดเข้า ในปัญจพลี โดยชื่อว่า อติถิพลี คือต้อนรับแขกผู้มาถึงสำนัก เป็นกิจอันอริยสาวกควรทำด้วย กำลังแห่งโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจความหมั่นในการงานอันปราศจากโทษ เพื่อถือ สารประโยชน์แห่งสมบัติไม่ให้ได้ผล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More