พระมหากษัตริย์และการเมืองไทย มงคลวิเสสกถา หน้า 220
หน้าที่ 220 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงบทบาทของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกที่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาพื้นฐานเพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนที่ยากไร้ นอกจากนี้ ยังเน้นความสำคัญของการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงดูแลประชาชนทั้งด้านความสุขและความสงบ โดยมีหลักการทางพระราชธรรมที่ประกอบไปด้วยอักโกธะ ความไม่โกรธ อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน และคุณธรรมอื่นๆ ที่เป็นรัฏฐาภิบาล สิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนชาวไทยมีความจงรักภักดีและความมั่นใจในพระมหากษัตริย์และรัฐบาล รวมทั้งการดูแลคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นบุญยิ่งของประชาชนที่มีพระมหากษัตริย์ดูแลพวกเขาในถานะนี้.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของพระมหากษัตริย์
-พระราชธรรมในความสัมพันธ์กับประชาชน
-ความสำคัญของนโยบายการปกครอง
-คุณธรรมในการบริหารราชการ
-ประวัติศาสตร์ความจงรักภักดีในสังคมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต่าง สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ๒๒๔ และพระราชหฤทัยอยู่ตลอดเวลาเกือบ ๔๐ ปีมาแล้ว เพื่อพระมหากรุณาช่วยแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ๆ เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ของพสกนิกรที่ยากไร้ในชนทบแม้แต่ชาวต่างประเทศก็นึกไม่ถึง ว่า ในโลกปัจจุบันยังมีพระมหากษัตริย์อยู่พระองค์หนึ่งผู้ทรงอุทิศพระองค์ทรงงานหนักถึงเพียงนี้ เหตุผลของพระองค์ท่านคือเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนทุกรูปทุกนาม สมดังพระราช ปณิธานที่ทรงประกาศเป็นปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์ สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระบรม ราชโอรส พระราชธิดา พร้อมทั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ สมเด็จพระเจ้าพี่ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ก็ได้ทรงโดยเสด็จพระราชดำเนินในพระราชธรรมจริยา เพื่อ ประโยชน์แห่งประชากรทุกประการดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และพสก นางเธอ นิกรชาวไทย ซึ่งสนิทแน่นแฟ้นมาแต่โบราณกาลจึงดำรงอยู่และทวียิ่งขึ้น ฝ่ายประชาชนชาวไทย ตั้งมั่นอยู่บนพื้นบานของความจงรักภักดีศรัทธาเชื่อมั่นด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็น พ้นประมาณ ฝ่ายพระมหากษัตริย์ตั้งมั่นอยู่ในพระมหากรุณาธิคุณอันไม่มีที่สิ้นสุด พระราชหฤทัยและพระราชจริยวัตรประกอบไปด้วยทศพิธราชธรรม ด้วยน้ำ และพระราชธรรมจริยาทั้ง ปวง ดังที่รับพระราชทานสาธกถวายในกถามรรคนี้ เป็นส่วนปรหิตปฏิบัติรัฏฐาภิบาลโนบาย ๒ ข้อ คือ อักโกธะ ความไม่โกรธ และ อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ประกอบด้วยสัจจะ และ อธิษฐาน จึงนับเป็นบุญยิ่งของประชาชนชาวไทย ที่ได้มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอัน ประเสริฐทรงดูแลสอดส่องสุขทุกข์ ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อพระ ราชประสงค์อันยิ่งใหญ่ คือเพื่อความอยู่ดีกินดีของพสกนิกรชาวไทย เป็นสำคัญ อักโกธะ ความไม่โกรธ ประกอบด้วยสัจจะ ความจริง และอวิหงสา ความไม่เบียดเบียน ประกอบไปด้วยอธิษฐาน นับเป็นรัฏฐาภิบาลโนบาย ส่วนปรหิตปฏิบัติจัดเป็นมงคลวิเสส ๓ พระราชธรรมจริยาส่วนอัตตสมบัติ สัจจบารมี อธิษฐานบารมี และส่วนปรหิตปฏิบัติคือ อักโกธราชธรรม อวิหิงสาราชธรรม เป็นรัฏฐาภิบาลโนบาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสิริมงคลอันพิเศษมี เอกเทศดังได้รับพระราชทานถวายวิสัชนามาฉะนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More