ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
២៨ព
ขอให้ตรัสบอกว่าใครเป็นพหุสุต, รับสั่งให้ถามภิกษุสงฆ์, พราหมณ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ไต่ถาม
ทราบความว่า พระอานนท์เถรเจ้าเป็นยอดพหุสสุดในสาวกนิกร ก็บูชาพระเถรเจ้าด้วยจีวรอย่างดี
มีราคาถึงพันกษาปณ์ ในเวลาที่สมเด็จพระบรมโลกนาถยังทรงพระชนม์อยู่ พระผู้เป็นเจ้าก็ได้
อนุเคราะห์บริษัท ๔ เหล่า คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ด้วยแสดงธรรมให้โอวาททา
นุศาสน์เสมอมา ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระเถระเจ้าก็ได้
มีพระมหากัสสปะเป็นประธานในการทำสังคายนาพระ
เป็นผู้วิสัชนาพระธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์
ธรรมวินัยให้ตั้งไว้เป็นหลักพระศาสนาสืบต่อไป
ถึงในฝ่าฆราวาสสมณฑล บุคคลผู้พหุสสูตก็ย่อมเป็นที่พึ่งพำนักของผู้อื่นด้วย เหมือนกัน
ในชั้นต่ำ ตั้งแต่คฤหบดีผู้เป็นใหญ่เฉพาะแต่ในตระกูลหนึ่งขึ้นไปจนถึงพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้
มุรธาภิเษกแล้วเป็นที่สุด เมื่อเป็นพหุสสุตบุคคล ก็สามารถจะรักษะประชุมชนผู้อยู่ใต้อำนาจ
โดยสะดวกดี อุบายโกศลคือความเป็นคนฉลาดในอุบายวิธีสำหรับประกอบกิจนั้น ๆ เพื่อป้องกัน
ภยันตรายแลขวนขวายหาสุขให้แก่กัน เป็นผลมีพาหุสัจจะนั้นเป็นมูลเดิม.
สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระปรีชารอบรู้อรรถธรรม เช่นพระราช
นิพนธ์เทศนาเสือป่าแลจตุราริยสัจจเทศนาอเนกพิธวิทยาทั้งในส่วนศกสมัยแลในปรสมัย เป็นที่พึ่ง
อันใหญ่ของพรบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ตลอดลงไปถึงอาณาปราะชาษฎร์ข้าขอบ
ขันธสีมา ต้องด้วยพระคาถาพุทธภาษิตสรรเสริญว่า
หิโต พหุนน์ ปฏิปชช โภเค
บุคคลใดปฏิบัติโภคสมบัติ ดำรงฆราวาสวิสัย เกื้อกูลให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
ติ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตต์
เทวดาย่อมรักษาบุคคลนั้น อันธรรมคุ้มครองรักษา
พหุสฺสต์ สีลวตูปปนน
ธมฺเม ฐิติ น วิชหาติ กิตฺติ
เกียรติคุณย่อมไม่ละบุคคลนั้น ผู้เป็นพหุสสุต มีอรรถธรรมได้สดับมาก ประกอบด้ยศีลาจารวัตร
สถิตในธรรม