ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
៨៦
ไม่เต็ม ต้องเสียค่านาสำหรับเนื้อที่ว่างเสมอไป หรือมีสมบัติอย่างอื่นที่ต้องใช้จ่ายทรัพย์รักษาแต่
ไม่สามารถจะทำได้ หรือมีแต่จะเปลืองไป แต่ไม่ได้ประโยชน์ที่คุ้มกัน, สมบัติอันขาดการรักษา
ดังนี้ย่อมจะเสียหายไม่ยั่งยืนไม่สำเร็จประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบเท่าไรนัก
ที่สุดไม่มีอะไร ก็ได้ความรำคาญใจไม่รู้จักจบ ความรักษาอันบกพร่องเช่นนี้ ได้ชื่อว่า อนารักขา
ความรักษาไม่สมกัน มีสมบัติแล้วแต่มีกำลังรักษาไม่พอกัน สมบัติยังอันตรธานไม่คงทน มีแล้วไม่
รักษาใช้สอยฟูมฟายไม่มียั้ง สมบัติจะจำต้องอยู่ไม่ได้แท้ ต่อมีสมบัติเท่าไรมีกำลังรักษาให้พอกัน
บัติจึงจะมั่นคงไปนาน จะมากหรือน้อยไม่เป็นประมาณ ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของเต็มที่ คุ้ม
แก่ความขวนขวายและต้องรับผิดชอบ, ความพอดีแห่งการรักษาเช่นนี้ ได้ชื่อว่าอารักขสัมปทา ถึง
พร้อมแห่งการรักษา, บุคคลทั้งหลายย่อมมีสามารถต่างกัน การรักษาจึงควรเป็นไปพอดีแก่กำลัง
ของบุคคล จะถือโภคะเป็นประมาณมิได้ อาวาสใหญ่ มีพระสงฆ์น้อย มีกำลังไม่พอจะรักษา
อาวาสน้อยมีพระสงฆ์มาก ย่อมได้ความลำบากเพราะที่อยู่ไม่พอกัน ถ้าเปลี่ยนให้เหมาะกันย่อม
เป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย กองทหารน้อย แต่ต้องกระจายรักษาท้องที่ใหญ่ ไม่สามารถรวมกำลัง
ไม่อาจตั้งรับศัตรู กองทัพใหญ่ควรจะขยาย รักษาท้องที่ได้กว้าง ไม่ทำอย่างนั้นก็ไม่กันข้าศึกไว้ได้
ต่อหน้าที่จะต้องรักษาเป็นไปพอเหมาะแก่กำลัง, ประโยชน์ดังกล่าวแล้วจึงจะสำเร็จ, อนึ่ง โภค
ทรัพย์ที่ได้ขวนขวายสั่งสมขึ้นไว้ และรักษาอยู่นั้น ถ้าเป็นแต่เก็บไว้จะให้ได้แต่เพียงความอิ่มใจ
เท่านั้น ต่อได้บริโภคใช้สอยบำรุงตนและคนที่ควรเลี้ยงจึงจะยังสุขให้ทวี, แต่การบริโภคใช้สอยนั้น
ต้องเป็นไปพอดีจึงจะสำเร็จประโยชน์, บึงใหญ่ที่บุคคลเปิดให้น้ำไหลบ่าไปทางเดียว ก็มีแต่จะแห้ง
ไปต่อเปิดทางให้น้ำไหลมาทดกัน จึงจะมีน้ำคงอยู่เป็นนิตย์กาล, อันบริโภคใช้สอยโภคทรัพย์ก็ปาน
กัน มีแต่ใช้ โภคะก็มีแต่จะสิ้นไป ต้องมีของที่ได้ใหม่มาทดกัน โภคะนั้นจึงจะคงอยู่ได้ ความรู้จัก
ประมาณในการได้การจ่าย ผ่อนผันให้ทรัพย์ที่ได้กลบลบทรัพย์ที่จ่ายให้ตนได้สุข แต่ให้สมบัติทวี
ขึ้นได้ชื่อว่า สมชีวิตา ความเป็นอยู่สม่ำเสมอ เป็นปฏิปักษ์แก่วิสมชีวิตา ความเป็นอยู่เผอเรอไม่
รู้จักประหยัด, บุคคลรู้จักบริโภคสมบัติ หลีกทางหานะเสีย เสพแต่ทางวัฒนะย่อมจะได้สุข, ตาม
สมควรแก่กำลังแห่งโภคทรัพย์ ความรู้จักพอดีในการแสวงหาในการรักษา ในการบริโภคเป็น
ประโยชน์แก่บุคคลนั้นฉันใด ย่อมเป็นประโยชน์แก่ประเทศด้วยฉันนั้น ประเทศ กล่าวคือชุมนุม
ชนที่ตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น ปกครองตนเองโดยลำพัง มาตั้งอยู่ในสุปริเยสนา แสวงหาโภคทรัพย์บำรุง
ตนรอบคอบดี ประกอบอุบายบำรุงการ