ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
ព៨២
ล่วงไปเสียแล้วนั้นว่า มีปัญญาหลักแหลม ถ้ายังอยู่ฟังธรรมแล้ว ก็จักได้ตรัสรู้ฉับพลัน ต่อนั้นจึง
ทรงเลือกพระภิกษุเบญจวัคคีย์ เป็นผู้รับประถมเทศนาพระอนุตตรธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และ
เมื่อมีพระพุทธประสงค์จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในมคธรัฐก็ทรงเลือกจะพาพระอุรุเวลกัสสป
ไปด้วย เหตุว่าท่านเป็นที่นับถือของคนชาวมคธเป็นอันมาก จึงต้องเสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรด
ท่านก่อน ข้อความในประถมสมโพธิ
ซึ่งรับพระราชทานชักมาพรรณนาในที่นี้นั้น ก็เพื่อที่จะ
สันนิษฐานเห็นว่า สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจสำเร็จ ก็เราะทรงรู้จักเลือก
บุคคลอันเหมาะแก่การพระคุณสมบัติข้อนี้จัดเข้าในเจโตปริยญาณ
พระปรีชากำหนดรู้อัธยาศัย
น้ำใจของผู้อื่น เป็นองค์แห่งอภิญญาและทศพลญาณ เป็นอุปการะแก่กัตตุกัมยตาฉันทะอีกส่วน
หนึ่ง หากจะมีฉันทะ อยู่ แต่ได้บุคคลผู้ร่วมในกิจไม่เหมาะ กิจย่อมไม่สำเร็จ
พระอาจารย์ผู้รจนาอรรถกถาธรรมบทแสดงไว้ว่า พอประทานอุปสมบทแก่พระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ ชอบแต่จะประทานแก่ท่านผู้มาบวชก่อนโดยลำดับลงไป พระองค์ได้ทรง
ทราบความแล้วตรัสแก้ว่า พระองค์ทรงทำดังนั้นโดยสมควรแก่บุรพปณิธานของพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะ พระภิกษุรูปอื่นผู้มาก่อนหาได้มีบุรพปณิธานเช่นนั้นไม่
สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเลือกบุคคลไว้เหมาะแก่กิจ
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พร้อมด้วยคณะรัฐบาล
แม้คำนี้ก็แสดงว่า
ทรงสอดส่องด้วยพระ
แล้ว
วิจารณญาณเลือกราชเสวกรับราชการ เพื่อเหมาะแก่หน้าที่เพราะปลูกคนให้มีสามารถด้วย
พระราชทานพระบรมราชูปภัมถ์ให้ได้รับศึกษาตั้งแต่พระราชโอรสตลอดลงมาถึงคนสามัญ
และเลือกสรรประกอบไว้ในราชกิจตามถนัด ผู้ที่ไม่เหมาะ ก็คัดออกเสียหรือผลัดเปลี่ยนหน้าที่ใหม่
ทรงราชการให้เป็นมาโดยสวัสดี พระคุณสมบัตินี้นับว่า บุคคลัญญุตา มงคลอันวิเสสที่ ๒.
สมเด็จบราบพิตรพระราชสมภารเจ้า กับรัฐบาล ทรงยังพระคุณสมบัติ ๒ ประการ นี้
ให้เป็นไปในทางอันควรแล้ว จะพึงบำเพ็ญพระราชกรณียะสำเร็จโดยร่มเย็น เป็นที่นิยมชมชื่นของ
มหาชน แต่นั้นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ก็พึงจะเกิดมีแต่สมเด็จ ฯ เจ้า กับทั้งรัฐบาลแลปวง
มีธรรมจรรยานั้นเป็นปัจจัย โดยนัยดังถวายวิสัชนามา ด้วยประการฉะนี้.
ประชา