การปกครองด้วยราชธรรมในสมัยพุทธกาล มงคลวิเสสกถา หน้า 66
หน้าที่ 66 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการปกครองประชาชนด้วยราชธรรมและการรักษาความสงบในยุคพุทธกาล โดยยกตัวอย่างกรณีของพระเจ้าพิมพิสารที่ดำเนินการห้ามไม่ให้ผู้รับบวชหลีกเลี่ยงจากการเป็นราชภัฏ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราชกิจและศาสนกิจ ประกอบด้วยข้อมูลถึงการผ่อนปรนของพระมหากษัตริย์ในการให้โอกาสแก่ฝ่ายศรัทธาในการบวช และความสำคัญของความสงบในการปกครองของราชอาณาจักร ผ่านหลักธรรมที่เชื่อมโยงกับกฎหมายและความสงบของประชาชน

หัวข้อประเด็น

-การปกครองโดยราชธรรม
-ความสงบในสังคม
-พระพุทธศาสนาและราชกิจ
-พระเจ้าพิมพิสารและการบวช
-บทบาทของพระมหากษัตริย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดิน สำหรับประกอบกับจักรรัตนะประดับพระเดชานุภาพ ทรงจัดธรร มีการักขาวรณคุตติ คือการปกครองด้วยรักษาป้องกันอันเป็นไปโดยราชธรรม ใน ประชาชนผู้ฟัง บารมีทั่วไปทุกหมู่ ตลอดถึงเดรัชฉานบางเหล่าที่ควรบำรุงไว้ ถึงพระเจ้าแผ่นดินเฉพาะประเทศ อันหนึ่ง ๆ ต่างก็ต้องมีกำลังไว้พร้อมมูล ดังพระเจ้ากาสีในที่หาวิชาดกซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง แม้พระเจ้าแผ่นดินในครั้งพุทธกาล เช่นพระเจ้าพิมพิสารมคธราชแท้ทรงนับถือในพระพุทธศาสนา มั่นคงในฝ่ายราชกิจ ก็ยังทรงเป็นพระราชธุระโดยราชธรรม ดังมีแจ้ในคัมภีร์มหาวรรคพระวินัย ตอนบรรพชาขันธกะว่า คราวหนึ่งปัจจันตชนบทปลาพระราชอาณาเขตแคว้นมคธ เกิดจลาจล กำเริบขึ้น ต้องจัดกองทัพส่งไประงับ พวกโยธีผู้ถูกเกณฑ์และไม่สมัครไปพากันหลบหนีไปบวชใน สำนักพระภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก ความทราบถึพระเจ้าพิมพิสาร ตรัสถามโวหาริกอมาตย์ ทั้งหลาย ถึงโทษผู้รับบวชคนหลวงเช่นนี้ อมาตย์เหล่านั้นวางบทถึงประหารชีวิต พระองค์ทรงยก ความข้อนี้เป็นเหตุ ทูลขอสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทั้งหลายรับบวชราช ภัฏบุรุษ สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ก็ทรงอนุมัติ และทรงตั้งพระพุทธบัญญัติห้ามไว้ โดยความ เป็นทุกกฏาบัติแก่ภิกษุผู้ละเมิด, พระเจ้าพิมพิสารทูลขอดังนี้ ก็ด้วยพระปรีชาผ่อนปรนศาสนกิจ และราชการให้เป็นไปไม่แก่งแย่งกัน แต่นั้นมา ในเวลาสงบ พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นศาสนูปถัมภก ก็ได้ทรงผ่อนผันพระราชทานพระราชานุญาต ให้พ้นจากความเป็นราชภัฏแก่ราชเสวกผู้ศรัทธา จะบวชในพระศาสนาเป็นพระราชประเพณีสืบมา อันหน้าที่รักษาความสงบนี้ ย่อมเป็นที่นิยมนับ ถือของพวกขัตติยะ บ้างก็มีสมญาเป็นนิมิตประกอบนามเดิม เช่นคำว่า เสนิโย จอมพล เป็น สร้อยพระนามแห่งพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเรียกรวามกันว่า ราชา มาคโธ เสนีโย พิมพิสาโร ดังนี้ และคำว่า เสนาปติ นายพล เป็นสร้อยนามของเจ้าสีหกุมารเมืองไพศาลี ซึ่งเรียกรวมกัน ว่า สีโห เสนาปติ ดังนี้ และความสงบนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งกันและกัน เมื่อความสง ภายนอกมีขึ้นก่อนแล้ว ความสงบภายในจึงเป็นไปตาม เมื่อชุมนุมปราศจากความระส่ำระสาย ไม่ต้องหวาดแต่ภัยอันตรายอันจะพึงมีมาแล้ว ชนจำพวกนั้น ๆ จะได้ตั้งหน้าทำกิจตามหน้าที่ของ ตน ๆ โดยปกติ, อันจะรักษาความสงบ ก็จำต้องมีกำลังพอจะห้ามความกำเริบจลาจล ดุจคำใน อรรถกถาว่า กฏเกน กฏกุทธรณ์ บ่งหนามด้วยหนาม ใช้ในข้อความอันจะต้องแก้ด้วย อาการเช่นเดียวกันกับที่เป็นเหตุเกิด. เหตุดังนั้น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปัญญาอันล้ำเลิศจึง ประกอบพระราโชบายหากำลังไว้ทุกประการ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More