ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๖๐
๑
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
เป็นข้อพึงปฏิบัติได้สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต ผู้ประสงค์สำเร็จสิ่งที่ประสงค์ซึ่งไม่
เหลือวิสัยทั้งทางคดีโลกทั้งทางคดีธรรม ในข้ออายุตามที่ตรัสไว้ว่า กัปป์ ๑ หรือเกินกัปป์
นั้น พระอาจารย์แสดงว่า หมายถึงอายุกัปปะ คือกำหนด อายุ ๑๐๐ ปี กัปป์ ก็คือ ๑๐๐ ปี.
พิจารณาตามหลักอิทธิบาท ผู้มุ่งเจริญอายุ เมื่อปฏิบัติมีฉันทะ พอใจรักใคร่ในอายุมี
เพียงรักษาอายามวิธีที่ถูกต้อง มีจิตเอาใจใส่ มีวิมังสา ปัญญารู้เหตุผลที่ถูกต้องมีสุขภาพทางกาย
และปฏิบัติทางจิตใจให้มีสมาธิสงบดี มีสุขภาพทางจิต มีสัมมัปปธาน ๔ สรุปเข้าว่าละชั่วทำดี
คือมีศีลธรรม มีกุศลกรรมบถเป็นหลักความประพฤติ เป็นบุญกุศลสนับสนุนย่อมจะเจริญอายุได้
ตามสมควรแก่กรรมและคติธรรมดา
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่พร้อมทั้ง
ทศพิธราชธรรมและบารมีธรรมโดยพระราชประสงค์ด้วยอิทธิบาททั้ง ๔ ซึ่งเป็น อายุวัฑฒนธรรม
จึงรับพระราชทานถวายวิสัชนาอายุวัฑฒนธรรม
คือะรรมเป็นเหตุเจริญพระชนมายุพรรษาด้วย
เป็นมงคลวิเสสที่ ๑
วรรณวัฑฒนธรรม ธรรมเป็นเครื่องเจริญวรรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจักรวัตติ
สูตรต่อจากอายุวัฑฒนาธรรมว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุมีอธิบายอย่างไร
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร
(ที่เที่ยว) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ
ในพระสูตรตอนนี้ ตรัสแสดงยกภิกษุเป็นที่ตั้ง แสดงศีลว่าเป็นเหตุเจริญวรรณะโดยความ
มุ่งหมายย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไป เมื่อปฏิบัติอยู่ในศีลตามควรแก่ภาวะของตนย่อมถึงความเจริญ
วรรณะคือความมีผิดพรรณงาม
ในพระสูตรนี้ยังได้แสดงถึงเหตุความเสื่อมอายุเสื่อมวรรณะ ของประชาชนพสกนิกรทั่วไป
ว่า ได้แก่อกุศลธรรมบท ส่วนเหตุแห่งความเจริญอายุเจริญวรรณะว่า ได้แก่ กุศลกรรมบถ ทั้งนี้
เหตุเบื้องต้นได้แก่การปกครองของท่านผู้ปกครองทั่วไป
เมื่อท่านผู้ปกครองมิได้แจกจ่ายทรัพย์หรือมิได้จัดปกครองให้ประชาชนพสกนิกรมีทรัพย์
ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน