ความเป็นคนฉลาดรอบรู้เหตุเป็นเครื่องเสื่อม มงคลวิเสสกถา หน้า 258
หน้าที่ 258 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของความฉลาดและการตัดสินใจที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่มีภัย จากกรณีศึกษาของคณะมัลลกษัตริย์ในกุสินารา ที่ไม่แจกพระสารีริกธาตุให้กับทูตจากหลายพระนครทันที โดยมีการแบ่งปันเป็นสี่ส่วนเพื่อป้องกันการทำสงคราม และสร้างความสามัคคีในกลุ่ม เพื่อให้สามารถป้องกันข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกทำตามอุบายที่ชาญฉลาดช่วยให้อาณาจักรสามารถอยู่รอดและห่างไกลจากภัย.

หัวข้อประเด็น

-ความฉลาดในการตัดสินใจ
-การแบ่งปันทรัพย์สิน
-ความสามัคคีในกลุ่ม
-ป้องกันภัยสงคราม
-บทเรียนจากประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ความเป็นคนฉลาดรอบรู้เหตุเป็นเครื่องเสื่อม ๑ ๒๖๓ ครั้งเมื่อ คุณข้อนี้มีในท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นย่อมเข้าใจที่จะ ประกอบกิจไม่ให้อากูล ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยสามารถ แม้เมื่อมีภัยที่ น่าหวั่นหวาดตั้งอยู่รอบด้าน ยังอาจดำริการผ่อนปรน ทำตนแลผู้อื่นให้รอดจากภยันตรายโดย ความข้อนี้จึงสาธกด้วยเรื่องในมหาปรินิพพานสูตรในทีฆนิกาย มหาวรรค คณะมัลลกษัตริย์ผู้ครองนครน้อยชื่อว่ากุสินารา ทำการบูชาถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระแล้ว ข่าวทราบไปถึงกษัตริย์แลประชาธิบดี ผู้ปกครองราชธานี แลนครใหญ่ ๗ ตำบล มีพระเจ้าอชา ตศัตรุราช ผู้ทรงดำรงราไซศวรรยาธิปัตย์มคธรัฐราชอาณาจักรเป็นประธาน ต่างพระองค์ทรง สวัสดี แต่งราชทูตจำทูลพระราชสาสน์ส่งไปสู่กุสินารานคร ให้ทูลขอส่วนพระพุทธสารีริกธาตุต่อคณะมัล ลกษัตริย์ เพื่อเชิญมาบรรจุไว้ในพระสถูป เป็นที่ทำสักการบูชา ถ้าคณะมัลลกษัตริย์จะไม่ฉลาด ในอุบายหยั่งเห็นเหตุการณ์ข้างหน้า พอทูตเมืองไหนมาถึงก็จะแจกให้ไป ๆ ฉวยว่าพระ สารีริกธาตุหมดแล้วจะมีใครมาขออีกแลจะไม่ได้ หรือผู้ที่ได้แจกแล้ว แต่จะไม่พอประสงค์เพียง เท่านั้นยังจะต้องการแบ่งปันอีก เมื่อไม่ได้สมประสงค์ก็คงจะเกิดอาฆาตบาดหมางแล้วแล เข้ากัน พระนคร ข้าศึกมหา หรือแต่ลำพัง ยกพยุหแสนยามาทำสงครามสัมประหาร เพื่อจะชิงเอาด้วยพลการไหนเลยคณะมัล ลกษัตริย์ผู้อยู่ในประเทศเล็ก มีกำลังพลเครื่องศัสตราวุธยุทธภัณฑ์น้อยจะต่อต้าน ประเทศผู้มีกำลังมากกว่าได้ ถึงอย่างไร ก็ไม่ควรให้มีสงครามมาติดพระนครในอันมิใช่ที่ คณะมัลลกษัตริย์ทรงเห็นเหตุการณ์ดังนี้ จึงยังไม่ยอมแจกพระสารีริกธาตุให้ไปก่อน กว่าทูตหลาย พระนครจะพร้อมกันเข้าแล้ว แลรบเร้าจะให้แจกจนได้ เมื่อเป็นสมัยเช่นนี้ จึงได้ดำเนินวิธีโดย รัฏฐาภิบาลโนบาย ให้โทณมหาพราหมณ์กล่าวบรรยายด้วยสุนทรคาถา แนะนำทูตานุทูต ๗ ให้สโมสรสามัคคีกับคณะมัลลกษัตริย์เข้าได้แล้ว พร้อมใจกันแบ่งพระสารีริกธาตุ ออกเป็น 4 ส่วน แจกแก่กันฝ่ายละส่วน เมื่อได้ทำสมควรเช่นนี้ หากจะมีใครมาขอในภายหลังก็ จะได้อ้างถนัดว่า พระสารีริกธาตุนั้น แบ่งกันเสร็จแล้ว ถ้าจะขึ้นต่อทำสัมประการเพื่อแย่งชิง ก็จะ ได้อาศัยพึ่งพิง ๗ พระนคร นั้น อันร่วมสามัคคีธรรม เป็นกำลังช่วยต่อสู้ข้าศึก ข้อนี้ก็มีผลเมื่อ แจกพระธาตุเสร็จแล้ว พระโมลียกษัตริย์เมืองปิปผลิวันพึ่งทราบข่าวนั้น แลแต่งทูต มาขอส่วน พระสารีริกธาตุ ของพระบรมศาสดาจารย์ ก็ได้ไปแต่พระอังคารที่ยังเหลืออยู่ ไม่สามารถจะขู่ เข็ญมัลลกษัตริย์ ให้จำยอมแบ่งส่วนของตนให้อีก อุบายหยั่งเห็นเหตุการณ์ข้างหน้า ปฏิบัติราชกิจต้องตามหน้าที่ทำ พระนครให้สวัสดี พ้นจากมหา คณะมัลลกษัตริย์แลโทณพราหมณ์ฉลาดใน ภัยพิสาฯ อันน่าหวั่นหวาดเห็นปานนั้น ด้วยประการฉะนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More