สมเด็จพระญาณสังวรกับโครงการอนุรักษ์และพัฒนา มงคลวิเสสกถา หน้า 160
หน้าที่ 160 / 390

สรุปเนื้อหา

สมเด็จพระญาณสังวรได้เสด็จไปประทับที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการอนุรักษ์และพัฒนาที่สำคัญในภาคเหนือ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 10 ล้านไร่ ซึ่งมุ่งเป้าฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ โดยทรงเน้นการระงับการตัดไม้และปลูกป่าทดแทน การฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำและการวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมในการรักษาความชุ่มชื้น พื้นที่ป่าชายเลนทั่วประเทศที่หายไปจำนวนมากยังเป็นเรื่องที่ทรงห่วงใย และมีพระราชดำริให้มีการฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

หัวข้อประเด็น

-พระราชกรณียกิจด้านอนุรักษ์
-โครงการพัฒนาท้องถิ่นภาคเหนือ
-การฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำ
-การรักษาความชุ่มชื้นในป่า
-ปัญหาการทำลายป่าชายเลน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ๑๖๔ พระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปฏิบัติแล้วก็ดี ที่กำลังปฏิบัติที่ดี ที่จะทรงปฏิบัติต่อไปก็ดี ที่เป็นไปตามโครงการพระราชดำริทั้งปวง เพียงประการเดียวก็ยากที่จะพรรณนาให้จบลงใน กถามรรคกัณฑ์เดียวนี้ จะรับพระราชทานบรรยายถวายโดยสังเขปเพียงบางประการ เมื่อต้นปีนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้เสด็จพระราชดำเนินแปร พระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงติดตาม ผลงานความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินตามพระราชดำริในเขตภาคเหนือโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง โครงการอนุรักษ์และพัฒนาแบบ “เบ็ดเสร็จ” ในท้องถิ่นภาคเหนือเองเป็นเนื้อที่ถึง ๑๐ กว่าล้านไร ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีกว่าบริเวรดังกล่าวเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย จึงทรงเน้นให้ฟื้นฟูที่อันมีค่าหาที่เปรียบมิได้ดังกล่าวโดยเร่งรัด ประการแรกระงับการตัดไม้ ทำลายป่า ประการที่สองเร่งปลูกป่าทดแทนให้กลับฟื้นคืนสภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในคราวที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจงานตามพระราชดำริ ณ โครงการพัฒนา ลุ่มแม่น้ำแม่ผาแหนกับดอยโตนในทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ทรงพราชดำริย้ำแล้วย้ำอีก การพัฒนา และฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำลำธารนั้น ต้องดำเนินการในแต่ละลุ่มน้ำ ส่วนวิธีการปลีกย่อยย่อมจะ แตกต่างกันบ้างตามสภาพภูมิอากาศ แต่โดยหลักการใหญ่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้จะ เป็นแม่แบบในการพัฒนา เพราะทรงทำให้เห็นประจักษ์แล้วว่าพื้นที่ที่ไม่มีใครต้องการแล้วเช่น ห้วยฮ่องไคร้นั้น สามารถฟื้นฟูให้กลับชุ่มชื้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี หากคิดแต่จะทอดทิ้งป่าเสื่อม โทรมทุกแห่ง จะทำให้ทะเลทรายคืบขยายออกไปทุกที แต่หากคิดสู้โดยการเร่งรัดฟื้นฟู ก็จะ กลับกัน คือให้ป่าเข้าครอบคลุมทะเลทรายแทนจะสกัดกั้นไม่ให้ทะเลทรายขยายต่อไป ทฤษฎีอีก ข้อที่ทรงกำชับนักหนา ก็คือต้องวิจัยอย่างจริงจัง และต่อเนื่องในเรื่องการลดการสูญเสียความชื้น จากเขตป่าต้นน้ำลำธารที่เข้าไปฟื้นฟูสภาพ พูดง่าย ๆ ก็คือ ทดลองว่าพันธุ์ไม้ชนิดใดบ้างที่จะ เหมาะสมที่สุดในการทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นพันธุ์ที่โตเร็ว สามารถดึงดูดความชื้นลงมาให้ มากที่สุดกับสามารถกันไม่ให้ความชื้นระเหยขึ้นไปเท่าที่จะทำได้ มีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งประเทศทั้งหมดประมาณ ๑๓ ล้านไร่ ได้ถูกทำลายโดยสาเหตุ หลายประการ ทำให้จำนวนพื้นที่ป่าชายเลนลดลงเหลือประมาณ ๙ แสนไร่ สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าทรงห่วงใยในปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างมาก ได้มีพระราชดำริ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More