ข้อความต้นฉบับในหน้า
២៨៦
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
ก็ยังถนัดใช้อำนาจของตนชี้ขาดอยู่นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ชนนิกรต่างฝ่ายจึงต้องแบ่งขยายกัน
ออกเป็นพวกหนึ่ง มีหน้าที่สำหรับต่อสู้ปรปักษ์ ครั้งโบราณเรียกว่า พวกกษัตริย์มีพระราชาเป็น
ประธาน ด้วยเหตุนี้ ราชกุมารผู้สืบสายจากพระราชาผู้มีหน้าที่ในทางนี้ จึงมีนามว่ากษัตริย์ด้วย
ตามกัน บริวารของพวกกษัตริย์เหล่านั้นย่อมเป็นโยธี คือพลรบตามเจ้านายของตน การจัดการ
ป้องกันศัตรูภายนอก เป็นรัฏฐาภิบาลโนบายประการหนึ่ง
ยุทธภัณฑ์มากกว่าอย่างเดียวหาได้ไม่
อันการสงครามบางคราวย่อมเกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน แลจะเอาชัย เพราะมีพลแลศัสตราวุธ
ต้องอาศัยสติปัญญากล้าหาญชำนาญว่องไวพรักพร้อม อยู่
ในบังคับบัญชาเป็นต้นด้วย จึงอาจจะเอาชัย การสงครามจึงต้องตระเตรียมไว้พร้อม แม้ในเวลา
ว่างศึก ไม่เช่นนั้นก็ไม่ทันการ ย่อมเสียเปรียบศัตรูมีเรื่องที่ทีฆาวุชาดกรับสมอ้างว่า โกศลรัฐเป็น
แคว้นเล็ก มีพลศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ เสบียงพาหนะน้อยกว่ากาสรัฐอันอยู่ติดต่อกัน ทั้งวประมาท
ไม่ทันได้ตระเตรียมตัว เมื่อศึกกาสี มาติดไม่อาจต่อสู้ ต้องเสียกาสี สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกความตระเตรียมพร้อมของเมืองที่ไม่ประมาท ประทานบรมพุทโธวาทโดยอุปมาไว้ว่า
แปลว่า
นคร ยถา ปจจนต์
เอว์ โคเปถ อตฺตานํ
ขณาตีตา หิ โสจนติ
คุตต์ สนฺตรพาหิร์
ขโณ มา โว อุปจฺจคา
นิรยมุห์ สมปุปิตา ฯ
เมืองอันตั้งอยู่ตามชายแดนซึ่งเรียกกันว่า ปัจจันตะ เป็นเมืองหน้าศึก เขาระวังทั้ง
ภายในภายนอกฉันใด ท่านทั้งหลายจงระวังตัวฉันนั้น ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะว่าพวกชนผู้มีขณะล่วงไปเสียแล้ว ย่อมจะเศร้าโศกเพียบในนรก
สยามรัฐนี้ตั้งอยู่สืบมาได้ด้วยอาการที่พลเมืองเป็นนักรบ เวลามีสงครามย่อมระดมกันรบ
เวลาว่าง ต่างแยกกันทำกิจต่างแผนก จนถึงปันลงว่าเป็นฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน เพราะมีนักรบ
เป็นเดช
พระราชอาณาเขตจึงสงบมาช้านานจนฝ่ายทหารก็ไม่สันทัด ฝ่ายพลเรือนก็ไม่เคยถนัด
ในการรบ ครั้งรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำรุงการทหารบกให้
เจริญขึ้น มาในรัชกาลปรัตยุบัน สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงตั้งอยู่ในความไม่
ประมาทต่อเหตุการณ์ ทรงบำรุงการทหารบกสืบต่อให้ไพศาล แลทรงเริ่มบำรุงการทหารเรือ
ทรงตั้งกรมเสือป่าขึ้น เพื่อนำฝ่ายพลเรือนให้รู้จักยุทธวิธี แลทรงจัดให้นักเรียนเป็นลูกเสือป่าขึ้น
เพื่อนำฝ่ายพลเรือนให้รู้จักยุทธวิธี แลทรงจัดให้นักเรียนเป็นลูกเสือ เพื่ออบรมเด็กให้มีนิสัยเป็น
นักรบ ด้วยพระราชประสงค์จะนำพลเมืองให้เป็นนักรบตามโบราณประเพณี