ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
๗๐
กลายเป็นสมุทรฉะนั้น. สมเด็จพระโลกนาถเจ้าประทานพระบรมพุทโธวาทโดยนัย ให้นรชาติเอา
ใจใส่ป้องกันรักษาทำนุบำรุงเกาะคือ ถิ่นฐานที่พำนักของตน อย่าปล่อยให้ห้วงน้ำ คือ อันตราย
๑
ท่วมทับได้เช่นนั้น ด้วยองคสมบัติ ๔ ประการ คือ ด้วยความหมั่นเอาใจใส่
๑ ด้วยความไม่
ประมาทเลินเล่อ ด้วยความระวัง ๑ ด้วยความปราบปราม ๑ ถ้าเจ้าของถิ่นเกียจคร้าน
เลินเล่อ ไม่ค่อยระวังและระงับความเสียหาย อันตรายก็ได้ช่องเกิดขึ้นเจ้าของตั้งอยู่ในองค์สงบัติ
๔ ประการ คือมีเพียรเพื่อจะจัดจะทำกิจที่ยังไม่ได้จัดไม่ได้ทำ และเพื่อจะรักษาธุระที่ได้จัดได้ทำ
ขึ้นแล้วให้เป็นไปโดยสม่ำเสมอ เอาใจใส่ไม่เพิกเฉย ปล่อยให้เสื่อมทราม คอยระวังเกียดกันความ
เสียหายอันยังไม่มีมา มุ่งบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป อันตรายก็ไม่ได้ช่องที่จะเกิด
เหมือนประชาชนที่อยู่ในเกาะหรือดินแดนอันลุ่ม เพียรถมที่หรือก่อทำนบกั้นห้วงน้ำอันจะท่วมถึง
และคอยระวังรักษาแก้ไขด้วยความไม่ประมาทฉะนั้น ดังนี้ ได้ชื่อว่าทำเกาะไม่ให้ห้วงน้ำท่วมได้
ในพระพุทธภาษิตนี้โดยพยัญชนะ, โดยอรรถนั้น กุศลธรรมได้ชื่อว่าเกาะเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกผู้
ตกอยู่ในสงสารสาคร สังกิเลสธรรมอันจะทำอันตรายแก่บุคคล ชื่อว่าห้วงน้ำ สัตว์เหล่านั้นได้
อาศัยกุศลความดีความงามเป็นที่พำนัก
ย่อมทรงตนอยู่ได้ในสังสารวัฏฏ์ ไม่จมลงในบาดาล
กล่าวคือยังตนให้ตั้งขึ้นได้ในสมบัตินั้น ๆ เป็นต้นว่า โภคทรัพย์และอิสริยยศ ความสามารถจะ
นำอันภาพไปโดยสวัสดี ไม่ต้องประพฤติทุจริตอันจะทำให้ตกต่ำลำบาก เพราะชีวีโตบายเป็นเหตุ
ถ้าปล่อยให้สังกิเลสครอบงำ ก็จะทำอันตรายแก่กุศลสุจริตที่ได้ประพฤติมา ยังบุคคลให้ตกต่ำลง
ไปเหมือนคนเรือแตกขึ้นฝั่งเกาะได้แล้ว ถูกห้วงน้ำท่วมพากันกลับไปตกในสาครฉะนั้น สมเด็จ
พระบรมศาสดาจารยตรัสสอนให้ทำเกาะ อย่าให้ห้วงน้ำท่วมทับได้เช่นนั้นด้วยคุณสมบัติ
ประการที่กล่าวแล้ว เป็นไปในอันเพียรทำกุศลความดีที่ยังไม่ได้ทำ เอาใจใส่รักษาความดีที่ได้ทำ
แล้ว คอยระวังไม่ให้ช่องแก่อกุศลความชั่วที่ยังไม่ได้ทำ เป็นธุระปราบปรามใจตนให้ละทั้งความชั่ว
ที่เคยทำแล้ว ดังนี้ชื่อว่า ทำเกาะไม่ให้ห้วงน้ำท่วมได้ ในพระคาถานี้โดยอรรถ
ข้อความทั้ง ๒ วิกัปนี้ ก็จัดเข้าได้ในบรมพุทโธวาทที่ประทานแก่ภิกษุสงฆ์ เมื่อพระอานนท์
พุทธอุปัฏฐากเป็นผู้รับเทศนา ในมหาปรินิพพานสูตร ว่า ตสุมาติหานนท์ อตฺตที่ปา วิหรถ
อตฺตสรณา อนุญญสรณา เพระเหตุนั้นแล อานนท์ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีตนเป็นที่เกาะเป็นที่พึง
อยู่เถิด อย่ามีคนอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่เกาะ
(๑) ที. มหา, ๑๐/๑๑๙.