พระพุทธโฆษาจารย์และอำนาจของการปกครองที่ดี มงคลวิเสสกถา หน้า 259
หน้าที่ 259 / 390

สรุปเนื้อหา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เผยแพร่แนวทางการปกครองที่ถูกต้องและเป็นธรรมด้วยอุบายโกศล ทั้งยังสอนให้กษัตริย์ และประชาชนปฏิบัติตนตามหลักธรรมเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความสุข เป็นการเน้นถึงความสำคัญของธรรมในการปกครอง และการมีความเห็นใจต่อกัน ยุติการเบียดเบียนกัน การมีพระคุณเป็นที่ตั้งในการบริหารงานต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นคุณภาพแก่ประชาชน แต่ยังส่งผลในด้านสังคมโดยรวมอย่างกว้างขวาง ด้วยการยึดมั่นในคุณธรรมและอธิบายถึงผลของการกระทำที่ดี ทำให้พระศาสนาสามารถอยู่ต่อในโลกได้อย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-พระพุทธโฆษาจารย์
-อำนาจการปกครอง
-อุบายโกศล
-ความสุขของประชาชน
-ธรรมะในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญญาณวรเถร) ๒๖๔ ถ้าอำนาจใหญ่อันประกอบด้วยกำลังตั้งอยู่ในอุบายโกศล รู้จักผ่อนปรนดำเนินการให้เป็น คุณแก่บ้านเมือง ก็ย่อมจะแผ่อานุภาพให้ไพศาลออกไปได้ ข้อนี้จึงสาธกด้วยเรื่องในจักรวัติสูตร ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระราชามหากษัตริย์แลพระเชฏฐโอรสของพระเจ้าทัฬหเมนีจักรพรรดิ ราช ทรงตั้งอยู่ในราโชวาทของพระชนกบรมกษัตริย์ ทรงบำเพ็ญจักรพรรดิวัตร จัดธรรมิการัก ขาวรณคุตติปกครองอนุยันตกษัตริยาราชบริพารสมณพราหหมณาจารย์ พราหมณ์ คฤหบดี เสวกามาตย์ และประชาราษฎร์ราวนิคมนบทข้าขอบขัณฑสีมา ตลอดถึงมฤคปักษ์ชาติ ให้เกษม สุขปราศจากกภัยนตราย ป้องกันเหตุร้ายมิให้เป็นไป ทำนุบำรุงประชาชนผู้ไร้ทรัพย์ให้มั่งคั่ง สมบูรณ์ ไม่ต้องประพฤติมิจฉาชีพให้อากูล อันจะก่อให้เกิดการเบียดเบียนกันและกัน หมั่นไม่ ถามถึงบาปบุญ คุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์นั้น ๆ กะสมณพราหมณาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม ละ เว้นกรรมที่ให้โทษ ประกอบแต่กิจที่เป็นประโยชน์เป็นวัตนสมาทาน แผ่พระเดชานุภาพแลพระ เกียรติคุณไพศาลไปทั่วทิศานุทิศ ไม่มีกษัตริย์เจ้าที่อยู่ไกลหรือใกล้ชิดพระนครนั้น ๆ แข่งขันไม่โอนอ่อน เสด็จยาตราจตุรงค์นี้แสนยากรไปถึงไหน ก็ได้ความยอมมีชัยไปถึงนั่น ถึง เป็นขอบขันธสีมามณฑล ๔ จะอาจ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชปรกครองปฐพี มีสมุทรสาครทั้ง โดยราบคาบ ด้วยธรรมิกอุบาย ไม่ต้องใช้อำนาจอาชญาอันร้ายแรงเคี้ยวเข็ญเป็นเบื้องหน้านี่ก็เป็น เรื่องปรัมปรา แต่เป็นข้อสาธกให้เหหนผลแห่งอุบายโกศลอันนี้ ซึ่งเป็นเครื่องทวีความเจริญของ อำนาจแลประโยชน์นั้น ๆ ให้ยิ่งขึ้นเป็นอเนกประการ ในฝ่ายศาสนธรรม สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ทรงอาศัยพระคุณข้อนี้ เป็นที่ตั้ง เมื่อทรง สั่งสอนเวไนยสัตว์ ก็ทรงอนุวัตรโดยการแก่อัธยาศัยกาลแลเวลา คนเหล่าใดมีสันดารหนาด้วย อกุศล ก็ทรงแสดงทุจริตแลผลของทุจริต ทำจิตใจให้เกิดสังเวชแล้วแล ละเว้นเสีย ชนเหล่าใดมีใจ กอปรด้วยกุศล ก็ทรงแสดงสุจริตแลผลของสุจริต ให้มีจิตปีติปราโมทย์แล้วแลสมาทาน ชนเหล่า ใดมีอธิมุติอัธยาศัยอ่อน ก็ทรงสั่งสอนด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ชนเหล่าใดมีอธิมุติเป็นปาน กลาง ก็ทรงพร่ำสอนในทางสัมปรายิกกัตถประโยชน์ ชนเหล่าใดมีอธิมุติกล้า ก็ตรัสเทศนาด้วย ปรมัตถประโยชน์ ในเวลาใดควรจะทรงแสดงธรรมเช่นไร ก็ทรงแสดงตามควรแก่เวลานั้น ศาสโน วาทของพระองค์จึงมีคุณเป็นมหัศจรรย์ ผู้กระทำตามนั้น ๆ ได้ผลสมควรแก่ความปฏิบัติ เหตุนี้ ผู้ นี้ศรัทธาเลื่อมใส จึงถวายพระเนมิตกนามว่า อนุตฺตโร ปุริสทมุมสารถ เป็นสารถีฝึกคนควร ทรมาน ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนสขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์แก่เทวดา มนุษย์สืบมาสิ้นกาลนาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More