พระราชจรรยาส่วนรัฏฐาภิบาล มงคลวิเสสกถา หน้า 360
หน้าที่ 360 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการพิจารณาธรรมและอรรถคดีที่สมดุล ไม่ผลุนผลัน โดยยกตัวอย่างตรรกะอันสำคัญที่สอนไว้ในศาสนา และเสนอแนวทางการควบคุมความขัดแย้งในสังคมไทย โดยอรรถบทจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และวินัยในสงฆ์ แสดงถึงความสำคัญของการรักษาธรรมเพื่อนำไปสู่ความสงบและยุติธรรมในสังคม ทั้งยังมีการกล่าวถึงพระราชจรรยาส่วนที่มีบทบาทในระบบอำนาจของรัฐที่ช่วยส่งเสริมความยุติธรรมและความเป็นระเบียบในสังคม โดยการตั้งกรรมการศาลฎีกาเพื่อพิจารณาอรรถคดีอย่างมีความสามารถและมีคุณภาพ.

หัวข้อประเด็น

-หลักการพิจารณาธรรม
-ธรรมน้อยใหญ่ในอรรถคดี
-บทบาทของพระสงฆ์ในสังคม
-การป้องกันความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่าง
-การสร้างความยุติธรรมในสังคมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๖๕ แปลว่า ท่านผู้เป็นอิสระ ยังไม่ได้พิจารณาด้วยตนเอง ยังไม่เห็นความผิดของผู้อื่นมาก หรือน้อย ด้วยประการทั้งปวงแล้ว อย่าเพิ่งลงอาชญา ข้อหนึ่งตรัสไว้ในธรรมบทว่า น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ เยนตถ์ สหสา นเย เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุพิจารณาอรรถคดีโดยผลุนผลัน ฝ่ายว่าบัณฑิตผู้ใดไม่พิจารณาโดยอาการอันผลุนผลัน เลือกถือเอาแต่ข้อที่สำคัญเป็นสาระ เหมือนถือตราชูพิจารณาผู้อื่นโดยธรรมโดยเสมอ ปราชญ์ผู้นั้นเป็นผู้รักษาธรรม เรากล่าวว่าเป็น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม อีกข้อหนึ่ง ตรัสหลักคือความไม่ลุอำนาจแห่งอคติไว้ในสิงคาโลวาทสูตรเป็นต้นว่า ฉนฺทา โทสา ภยา โมหา นิหียติ ตสฺส ยโส โย ธมฺม อติวตฺตติ กาฬปกเขว จนทิมา ฯ ผู้ใดประพฤติล่วงธรรมเพราะรัก เพราะยัง เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อม เหมือนพระจันทร์ในข้างแรม ฉนฺทา โทสา ภยา โมห โย ธมุม มาติวตฺตติ อาปูรติ ตสฺส ยโส สุกกปกเขว จนทิมา ។ ผู้ใดหาประพฤติล่วงธรรมเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลงไม่ ยศของผู้นั้น ย่อมเต็ม เปี่ยมเหมือนพระจันทร์ในข้างขึ้น ในทางพิจารณาอธิกรณ์อันจะเกิดขึ้นในพระสงฆ์ พระองค์ก็ได้ตรัสวางวิธีพิจารณาไว้เป็น หลักสำหรับพระวินัยธรด้วยเหมือนกัน ทรงทำนุบำรุง สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พร้อมด้วยรัฐบาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แลการเมือง ผู้มีหน้าที่ฝึกสอนแลสอบความรู้กฎหมายเป็นธรรมศาสตร บัณฑิตปริญญา ทรงตั้งกรรมการศาลฎีกาไว้พิพากษาอรรถคดีต่างพระองค์ ทรงอุดหนุนความ ยุติธรรมด้วยประการนั้น ๆ นี้จัดเป็นพระราชจรรยาส่วนรัฏฐาภิบาลโนบายประการหนึ่ง อนึ่ง ชนนิกายผู้ตั้งอยู่ต่างแคว้นอันติดต่อกันย่อมมีทางจะวิวาทแตกร้าวกันเพราะเหตุ อาณาเขตกันบ้าง เพราะเหตุสิทธิของพสกนิกรบ้าง เพราะเหตุแย่งค้าขายบ้าง เป็นอาทิ เช่นกับ ชนนิกรในแคว้นเดียวกัน เมื่อปรองดอง กันลงไม่ได้ ไม่มีใครละตัดสิน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More