ความสำคัญของความสงบในพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 107
หน้าที่ 107 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาสำรวจความสงบในพุทธศาสนา อธิบายถึงสิกขาบทต่างๆ ที่มุ่งรักษาความสงบ และการบำเพ็ญจิตเพื่อเข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง นอกจากนี้ยังพูดถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการสร้างความสงบให้กับประเทศ การบำรุงการทหารและการรักษาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ เพื่อความสงบราบคาบในสังคมโดยรวม.

หัวข้อประเด็น

-ความสงบในพุทธศาสนา
-สิกขาบทที่มุ่งรักษาความสงบ
-การบำเพ็ญจิตในพระพุทธศาสนา
-สันติสุขที่แท้จริง
-บทบาทของพระมหากษัตริย์ในความสงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๑๐ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช(กิตฺติโสภณมหาเถระ) จึงมุ่งความสงบเป็นที่ตั้ง ฯ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบท ก็เพื่อระงับอาสวะโทษ อันเกิดขึ้นแล้ว และเพื่อระวังอาสวะโทษอันจะพึงเกิดขึ้นอีก โดยใจความก็คือเพื่อรักษาความสงบ ในท้ายพระปาฏิโมกข์อันสงฆ์สวดทุกกึ่งเดือนสำแดงความข้อนี้ว่า “ตตฺถ สัพเพเหว สมคเคริ สมุโมทนาเนหิ อวิวทมาเนหิ สิกขิตพพ์ แปลว่า อันภิกษุทั้งหลายทั้งมวลแลจึงเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ชอบกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในสัตถุพจน์ อันเป็นหลักสูตรนั้น” ดังนี้ ฯ ในฝ่ายคฤหัสถ์ ทรงบัญญัติศีลมีองค์ ๕ คือ เว้นจากผลาญชีวิต, เว้นจากทำโจรกรรม, เว้นจากประพฤติผิดใน กาม, เว้นจากกล่าวเท็จ, เว้นจากดื่มน้ำเมา ก็เพื่อความอยู่สงบแห่งมหาชน การบำเพ็ญจิต ตสิกขา คือศึกษาปัญญาสิกขา คือศึกษาทางปัญญาได้แก่เจริญวิปัสสนา ก็เพื่อกำจัดอาสวะกิเลส อันเป็นข้าศึกแห่งความสงบจิต ។ ฯ ความสงบเป็นผลที่มุ่งหมายตั้งแต่ภายนอกตลอดถึงภายใน ปฏิบัติได้อย่างนั้น จึงได้ชื่อว่า อุปสนฺโต ผู้สงบระงับ ฯ มีคาถาพระพุทธภาษิตสาธกความข้อนี้ ว่า สนฺตกาโย สนฺตวาโจ วนฺตโลหามิโส ภิกขุ สนฺตมโน สุสมาหิโต อุปสนฺโตติ วุจฺจติ ។ แปลว่า ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีวาจาสงบแล้ว มีใจสงบแล้ว ตั้งมั่นดีแล้ว มอามิสคือเหยื่อในโลก อันคายทิ้งแล้ว เรากล่าวว่า ผู้สงบระงับ” ดังนี้ ฯ สันติย่อมเป็นผลแห่งสุขอันไม่เจือด้วยอามิส เรียกว่า นิรามิสสุข เป็นสุขอย่างสุขุม เป็นสุขอันแท้จริง มีพระพุทธภาษิตว่า “นตฺถิ สนฺติปร สุข สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ฯ ความสุขเพราะได้ลาภได้ยศได้สรรเสริญ เป็นสุขอิงอามิส เรียกว่า สามิสสุข เป็นสุขเจือด้วยทุกข์ เป็นผลอันจะพึงมีมาด้วยกัน บัณฑิตไม่พิจารณาเห็นว่า เป็นสุขอันแท้จริง เหมือนสุขเกิดแต่ความสงบ “นิพพาน ปรม วทนฺติ พุทธา ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง” ก็เพราะพระนิพพานเป็นยอดแห่งความสงบ คำสอน อันเว้นสันติเสียแล้ว จึงเป็นศาสนธรรมมิได้เลย ในทางคดีธรรม สันติย่อมเป็นคุณสมบัติอย่างยิ่ง ไม่มีอย่างอื่นจะพึงเปรียบปาน ด้วยประการฉะนี้ ฯ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงตั้งและแก้ไขพระราชกำหนดหมายโดยคำแนะนำ และยินยอมแห่งสภานิติบัญญัติก็ดี พระราชทานอำนาจแก่ศาลยุติธรรมก็ดี โปรดให้จัดการอารักขา ภายในก็ดี ทรงบำรุงการทหารก็ดี ทรงรักษาพระราชไมตรีกับนานาประเทศให้สนิทสนมก็ดี ก็เพื่อ ความสงบราบคาบแห่งพระราชอาณาจักรทั้งภายในทั้งภายนอก ตามราชธรรมแห่ง พระมหากษัตริย์ นี้จัดเป็นมงคลวิเสสประการที่สอง ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More