ข้อความต้นฉบับในหน้า
และนอกจากนี้ยังแสดงว่า ท่านผู้ได้อุเบกขาแล้วก็มิใช่ว่าจะเฉยเมย เมื่อถึงคราวจะช่วย
ทำอะไรก็ช่วย และช่วยทำได้ดีมากกว่าผู้ที่ไม่มีอุเบกขาเพราะช่วยโดยปราศจากอคติมุ่งธรรมเป็น
ที่ตั้ง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า “แยกตนออกมาเป็นคนกลาง ที่เรียกว่า มีอาการมัธยัสถ์เป็น
กลาง พิจารณาถึงกรรมเป็นหลัง หมายถึงพิจารณาหาความจริง ว่าอะไรผิดอะไรถูก ใครผิด
ใครถูกอย่างไร” ดังที่เรียกว่าโดยยุติธรรม ฉะนั้น ธรรมคือ อุเบกขานี้จึงเป็นธรรมอันสำคัญ
แม้อุเบกขาบารมี ท่านก็แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ
๑.
ຕ
อุเบกขาบารมี คืออุเบกขาของ ผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งพระโพธิญาณรักษา
ปฏิบัติในอุเบกขายิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน
๒.
อุเบกอุปขาบารมี คืออุเบกขาของผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งพระโพธิญาณรักษา
ปฏิบัติในอุเบกขายิ่งกว่ารักษาอวัยวะของตน
๓.
อุเบกขาปรมัตถบารมี คืออุเบกขาของผู้บำเพ็ญประโยชน์ แห่งพระโพธิญาณ
รักษาปฏิบัติในอุเบกขายิ่งกว่ารักษาชีวิตของเอง
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงตั้งอยู่ในเมตตาและอุเบกขาในพระราชกรณีย
กิจทั้งปวง พระเมตตาจึงยิ่งใหญ่ไพศาล ควรจัดเป็นพระเมตตาบารมีได้เช่นเดียวกับสุวรรณสาม
ในสุวรรณสามชาดก พระอุเบกขาก็เช่นเดียวกัน ควรจัดเป็นพระอุเบกขาบารมีได้เช่นเดียวกับพระ
พรหมนารทะ ในนารทชาดก นับเป็นพระราชปฏิบัติ ส่วนอัตตสมบัติ คือ เมตตา จัดเป็นมงคล
วิเสสที่ ๑ อุเบกขา จัดเป็นมงคลวิเสสที่ ๒
คือ
พระราชจริยารัฏฐาภิบาลโนบายนั้น พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติกระทำเพื่อ
ประโยชน์คุณแก่พระราชอาณาจักรและประชาชน จะขอรับพระราชทานถวายด้วยทศพิธราชธรรม
ข้อ ๔ คือ ขันติ ความอดทน และข้อ ๑๐ คืออวิโรธนะ ความไม่ผิด โดยปรหิตปฏิบัติปริยาย
ขันติ ความอดทน กิริยาที่อดทนต่อโลภะ ความอยากได้บ้าง ต่อโทสะ ความโกรธ
เคืองจนถึงพยาบาทมุ่งร้ายบ้าง ต่อโมหะ ความหลงงมงายบ้าง เพราะได้ประสบอารมณ์ที่ยั่วให้
เกิด เมื่อมีอารมณ์ที่ยังให้เกิด เมื่อมีอารมณ์มาประสบสั่งให้เกิดอยากได้ อยากล้างผลาญ อยาก
เบียดเบียนก็อดทนไว้ไม่แสดงวิกลวิการอันชั่วร้ายทางกายวาจาออกไปตามอำนาจแห่งโลภะ โทสะ
โมหะ และอดทนต่อทุกขเวทนา มีเย็นร้อนเป็นต้นอันทำให้ลำบาก อดทนตรากตรำประกอบการ
งานต่าง ๆ อดทนต่อถ้อยคำที่มีผู้กล่าวทั่วไปเป็นที่ชอบใจชื่อว่าขันติ
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๑๙๕