บทบาทของพระสังฆราชในพระพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 103
หน้าที่ 103 / 390

สรุปเนื้อหา

พระสังฆราชทรงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกุศลทั่วทั้งสรรพสัตว์โดยการทรงพระราชอุทิศและการร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ เนื้อหามุ่งเน้นถึงความสำคัญของสหกรณ์ที่หล่อเลี้ยงความสุขและสุขภาพของสรีระและสังคมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ทุกคนมีบทบาทและหน้าที่กระทำให้สำเร็จในสังคม เล็งเห็นได้จากตัวอย่างขององค์ประกอบในร่างกายและอุปการะซึ่งกันและกันที่เป็นหลักธรรมดาในการเจริญ มีพระบาลีชี้แจงความสำคัญของสหกรณ์นี้ว่า การดูแลสุขภาพร่างกายต้องการการทำงานร่วมกันของอวัยวะหลายส่วนที่ต้องมีการอุปถัมภ์ส่งเสริมกันเพื่อความสำเร็จและสุขภาพที่ดี.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของพระสังฆราช
-การทรงพระราชอุทิศ
-หลักการสหกรณ์ในพระพุทธศาสนา
-การทำงานร่วมกันเพื่อสุขภาพ
-พระบาลีเกี่ยวกับสหกรณ์ในสรีระ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๐๖ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (กิตฺติโสภณมหาเถระ) นิยมในพระราชพิธี ทรงพระราชอุทิศส่วนกุศลทั้งนี้ เป็นเทวดาทิศพลีธรรมบรรณาการและทรงแผ่ ส่วนพระราชกุศลแก่สรรพสัตว์ไม่มีประมาณ เป็นส่วนแห่งพระอัปปมัญญาพรหมวิหารตามคติแห่ง พระพุทธศาสนา ฯ ลำดับนี้ จกรับพระราชทานเลือกสรรพระคุณสมบัติที่ตั้งแห่งศุภสวัสดิมงคลอันพิเศษยิ่ง ซึ่งได้ชื่อว่า มงคลวิเสส มาถวายวิสัชนาเพื่อประดับพระปัญญาบารมีได้ทรงสดับแล้ว ทรงพระ อนุสรณ์ด้วยกำลังพระปรีชาญาณพระราชปณิธานเพื่อจะทรงบำเพ็ญจะพึงเกิดมีแด่สมเด็จบรม บพิตรพระราชสมภารเจ้า แต่นั้นทรงพระราชอุตสาหะ ด้วยพระอาการอันชอบ เพื่อจะยังพระ คุณสมบัตินั้น ๆ อันยังหย่อนให้บริบูรณ์ เพื่อเพิ่มพูนส่วนที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วให้ไพบูลย์ยิ่ง ทรง ปฏิบัติอยู่โดยราชธรรม พระราชสิริสวัสดีพิพัฒนมงคลจะพึงสำเร็จแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราช สมภารเจ้า เพราะพระราชจรรยานั้นเป็นปัจจัย ฯ ในศกนี้ (๒๔๙๕)ได้เลือกมาถวายวิสัชนา รัฏฐาภิบาลโนปาย ๑. ๓ ประการ คือ สหกรณ์ ๑ สันติ ๑ และ สหกรณ์ นั้น คือการทำร่วมกัน ย่อมเป็นไปทั้งในสังขารทั้งในกิจการอันมีความทำร่วมกัน โดยสภาวะและโดยหน้าที่ เพื่อสำเร็จแห่งกิจอันประกอบด้วยร่วมกัน ตลอดถึงกิจอันแยกออกเป็น ต่างหน้าที่ แต่จำต้องสัมพันธ์กันโดยเหตุผล ฯ อุทาหรณ์เช่น ส่วนแห่งอวัยวะทั้งหลาย อันคุม กันเข้าเป็นสรีระนี้ ต่างมีหน้าที่เป็นแผนก ๆ ช่วยกันบำรุงสรีระให้เป็นไป ยังพรักพร้อมทำหน้าที่ ร่วมกันเพียงใด ความผาสุกแห่งสรีระย่อมมีเพียงนั้น ส่วนแห่งอวัยวะเหล่านั้นต่างย่อมได้ความ สะดวกแห่งกิจของตนตามหน้าที่ ถ้าส่วนอวัยวะอันหนึ่ง หรือมากกว่านั้น ทำหน้าที่บกพร่องไม่ สม่ำเสมอ ส่วนอื่นก็พลอดทำหน้าที่ ไม่สะดวกไปด้วย มากน้อยตามส่วนอันเสียไปนั้น ที่เป็น อุปการะแก่ความเป็นไปแห่งสรีระเพียงไร ถ้าเป็นส่วนสำคัญเพียงอันเดียว ก็อาจทำส่วนอื่น ๆ ให้ ติดขัดไปตามกัน แต่นั้น สรีระก็ไม่ผาสุก กล่าวคือมีโรคเกิดขึ้นตัดรอนทอนกำลังแห่งสรีระนั้นเอง ถึงเป็นอันตรายก็ได้ ส่วนทั้งหลายแห่งสรีระ ย่อมต้องการสหกรณ์แห่งกันและกันโดยธรรมดา นิยม ด้วยประการฉะนี้ ฯ มีพระบาลีแสดงผลแห่งสหกรณ์ แห่งส่วนสรีระทั้งหลายว่า “อปปา พาโธ อปปาตงโก สมเวปากิริยา คณิยา สมนนาคโต นาติสีตาย นาจจุณหาย มชุฒิ มาย ปธานกุขมาย แปลว่า มีเจ็บไข้น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุอบอุ่นพอเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นประมาณกลาง ควรแก่ความเพียร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More