ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
ในศก ที่ ๑๒๙
๙๓
จะพรรณนาพระคุณพิเศษ ๓ ประการ คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ ๑ บุคคลัญญุตา ๑
รัฏฐาภิบาลโนบาย ๑ พอเป็นนิทัสสนนัย
กัตตุกัมยตาฉันทะข้อต้นนั้น ได้แก่ความพอใจ คือความเป็นผู้ใคร่จะทำ, ศัพท์ว่า ฉันทะ
ๆ นั้น เป็นคำกลาง ได้ทั้งข้างดีทั้งข้างเสีย ตามอำนาจธรรมที่น้อมไป. ฉันทะในคำว่า ฉนฺโท กา
โม ฉันทะก็คือกาม ดังนี้ ประสงค์เอากามฉันทะในพระนิวรณ์, ฉันทะ ในคำว่า
ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา
น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมุห์ ฉันท์ กยิราถ
ทุกโข ปาปสฺส อุจจโย
ที่มีความว่า บุรุษมทำบาปเข้าบ้าง อย่าพึงทำบาปนั้นร่ำไป จึงทำฉันทะในบุญนั้น เหตุว่า บุญ
เจริญขึ้น ย่อมให้เกิดสุข ดังนี้ ประสงค์เอากุศลฉันทะ ฉันทะในธรรมเช่นนี้ จัดเป็นข้างเสีย
ฉันทะในคำว่า
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา
ตมุห์ ฉันท์ กยิราถ
กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
สุโข ปุญฺญสฺส อุจจโย. (๒)
ที่มีความว่า ถ้าบุรุษทำบุญนั้นเข้าบ้าง จึงทำบุญนั้นร่ำไป จึงทำฉันทะในบุญนั้น เหตุว่า บุญ
เจริญขึ้น ย่อมให้เกิดสุข ดังนี้ ประสงค์เอากุศลฉันทะ
ฉันทะในคำว่า ธมฺมนิชฌานกฺขนฺติยา สติ ฉนฺโท ชายติ ฉนฺทชาโต อุสสติ
อันมีความว่า เพราะธรรมปรากฏ ฉันทะย่อมเกิด บุคคลมีฉันทะเกิดแล้ว ย่อมอุตสาหะ ดังนี้
ประสงค์เอากัตตุกัมยตาฉันทะ, ฉันทะที่เป็นอิทธิบาท คือธรรมเป็นเครื่องบรรลุความสำเร็จ ก็
ประสงค์เอากัตตุกัมยตาฉันทะนี่เอง ฉันทะในธรรมเช่นนี้จัดเป็นข้างดี เพราะศัพท์ว่าฉันทะ เป็น
แต่คำกลางเช่นนี้ เมื่อจะกล่าวแต่ลำพัง เพื่อจะให้เข้าใจความ จึงต้องประกอบเข้ากับศัพท์อื่น
เช่นกามฉันทะ อกุศลฉันทะ กุศลฉันทะ กัตตุกัมยตาฉันทะ ด้วยประการฉะนี้
๒ ขุ. ปี ๒๕/๓๐ ๓. ม. ม. ๑๓/๖๐๕.