ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
ព២៨
ที่ได้กุศลไว้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอภินิหาร อันเป็นฐานแห่งการณวสิกตา ดังนี้ บัณฑิตจึงนิยมไว้ว่า
ความเป็นผู้อยู่ในอำนาจแห่งเหตุ เป็นคุณสมบัติพิเศษท่านผู้มีบุญญาภินิหาร ด้วยประการฉะนี้
สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบริบูรณ์ด้วยพระบุญญาภินิหารพุทธบารมี จึง
ทรงถึงพร้อมด้วยการณวสิกตาคุณนี้เป็นอย่างยอดเยี่ยม ไม่มีผู้อื่นเทียมถึง พึงสันนิษฐานเห็นได้
ในพระปฏิปทานั้น ๆ อันจะรับพระราชทานพรรณนาเป็นนิทัศนนัยโดยเอกเทศ
ในการแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ ชั้นแรกเสด็จไปทรงศึกษาลัทธิของสองคณาจารย์
คืออาฬารดาบส กาลามโคตร แลอุทกดาบส รามบุตร ผู้ซึ่งมหาชนยกย่องว่าเป็นคณาจารย์
ชั้นสูงในครั้งนั้นก่อน ข้อนี้ก็ส่อพระการณวสิกตา เพราะว่าแม้จะไม่ทรงเชื่อสนิทในสองคณาจารย์
แต่ทรงมั่นพระหฤทัยในความสามารถของพระองค์เองปานไรก็ตาม แต่เหตุการณ์บ่งความสมควร
อยู่ว่า ถ้าพระองค์จะไม่ทรงศึกษาลัทธิของคณาจารย์อื่น เช่นสองดาบสนั้นก่อน ตั้งต้นทรง
แสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำพัง ถ้าพลาดพลั้งไม่สำเร็จ โลกก็จะติ ว่าพระองค์มีถัมภ
มานะอติมานะ แลชวนกันเย้ยหยันหากได้สำเร็จแล้วจะตรัสเทศนาเชิดชูพระธรรมที่พระองค์ได้
ตรัสรู้นั้นให้เด่นก็ยาก เพราะคณาจารย์เจ้าลัทธินั้น
ๆ จะคอยขัดขวางอ้างลัทธิของตนขึ้นแข่ง
จะทรงคัดค้านโต้แย้งก็ไม่ถนัด เพราะไม่เคยทรงศึกษาสันทัดในลัทธินั้น ๆ มา ครั้นได้ทรง
ศึกษาเจนจนลัทธิซึ่งนิยมว่าสูงนั้นแล้ว ถึงไม่ได้ตรัสรู้ภายหลัง ก็ยังเป็นศิษย์มีครู เมื่อได้ตรัสรู้แล
จะทรงแสดงธรรมโปรดเวไนย ก็อาจปลูกศรัทาเลื่อมใสได้ไม่ยาก หากจะมีเจ้าลัทธิอื่นที่ไม่สูงถึง
สองคณาจารย์นั้น มาขันแข่งก็หาประหลาดไม่, ข้อนี้แสดงเยี่ยงการณวสิกชนเมื่อได้เหตุอันสมควร
ก็ยอมเชื่อถือผู้อื่นที่เข้าทั้งหลายนับถือกัน ตัดทางปรัปปวาทว่าเป็นเจ้าทิฏฐิมานะไม่ลงใคร
อีกข้อหนึ่ง
เมื่อทรงเห็นว่าลัทธิสมัยของคณาจารย์ทั้งสองมิใช่คลองแห่งพระโพธิญาณ
ก็ทรงอำลาสองคณาจารย์โดยสุคโตบาย ยังความอาลัยเสียดายให้เกิดแก่ท่านทั้งสอง เสด็จไปใน
การแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ โดยลำพัง ทีแรกทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ซึ่งในสมัยนั้นนิยมว่า
เป็นบุญอย่างอุกฤษฎ์ เป็นทางสัมฤทธิ์แห่งผลทั้งปวงที่ปรารถนา สิ่งที่คนทั้งโลกนิยมว่าดี แม้
จะมีวิมัติกังขาอยู่ในใจ แต่เมื่อไม่ได้ข้อพิสูจน์พอเพียง จะโต้เถียงคัดค้านสิ่งนั้นก็ไม่ชอบแก่เหตุ
ทางที่ดีควรทดลองด้วยตน