ขันติและอหิ นาโคว ในพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 337
หน้าที่ 337 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงขันติในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในพระราชประวัติของสมเด็จพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงความอดทนและมีใจเมตตาต่อผู้มีอิทธิพลที่ประสงค์ทำร้ายพระองค์ ทั้งในคำสอนเกี่ยวกับขันติและความอดทนต่อความทุกข์ ภิกษุสงฆ์ได้รับบทเรียนจากพระองค์ในจตุรงคสันนิบาต โดยเฉพาะในความสำคัญของการอดทนและการมีใจเมตตา ไม่ว่าจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ใดก็ตาม การทำความเข้าใจในขันติธรรมจึงมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ขันติในพุทธศาสนา
-พระพุทธเจ้าและพระเทวทัตต์
-การอดทนและเมตตา
-จตุรงคสันนิบาต
-คุณสมบัติของภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) อหิ นาโคว สงฺคาเม อติวากย์ ติกฺขิสส์ ๓๔๒ จาปาโต ปาติ สร์ ทุสสีโล หิ พหุชฺชโน ។ เราจักอดกลั้นถอยคำเกิน เหมือนช้างที่ทนลูกศร อันตกจากแห่งในสงคราม เพราะหมู่ชนเป็น คนดีทุศีลมีอยู่มาก. นอกจากนี้ พระเทวทัตต์ผูกอาฆาตในพระองค์ด้วยเหตุที่มิได้ทรงยกย่อง เหมือนสาวกอื่น คิดหาทางจะได้รับความยกย่อง แลทูลแนะนำขอให้ทรงบัญญัติกิจวัตรลางอย่าง สำหรับภิกษุสงฆ์ ก็ไม่ทรงพระอนุมัติตามเธอเห็นว่า เสด็จอยู่กีดขวาง แลพยายามจะปลงพระ ชนม์เสียเป็นหลายครั้ง แต่หาสำเร็จไม่ สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าทรงตั้งอยู่ในขันติ มีเมตตา อยู่เสมอ ไม่ได้ทรงแสดงวิหารแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ฝ่ายพระเทวทัตต์คิดมิชอบ ก็ได้ปรากฏตาม ยถากรรม, พระโบราณาจารย์กล่าวคำประพันธ์สรรเสริญไว้ว่า วธเก เทวทตฺตมหิ ราหูเล ธนปาเล จ โจเร องฺคุลิมาลเก สพฺพตฺถ สมมานโส ฯ แปลความว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระหฤทัยเสมอกันในชนผู้จงรักแลชนผู้ปองผลาญทั้ง ปวง ทั้งในพระเทวทัตต์ ทั้งในบุรุษที่ส่งไปจะให้ฆ่าพระองค์ทั้งในองคุลิมาลโจรผู้มุ่งจะทำร้าย พระองค์ ทั้งในพระราหุลพุทธวโรรส ทั้งในช้างธนบาล คือ ช้างนาฬาคิรี ที่พระเทวทัตต์ยุพระ เจ้าอชาตศัตรูให้ปล่อยไป เพื่อทำลายพระชนม์ของพระองค์ ในคราวชุมนุมสงฆ์สาวกที่เป็นมหา สมาคม ซึ่งเรียกว่าจตุรงคสันนิบาต แปลว่า ชุมนุมมีองค์ ๔ คือสาวกผู้มาชุมนุมนั้นล้วนเป็น พระอรหันต์ขีณาสพผู้บริสุทธิ์แท้ ๑ ได้รับอุปสมบทแด่พระศาสดาเอง เรียกว่าเอหิภิกขุ เป็น ภิกษุในยุคต้น ‹ ต่างมาเอง ด้วยไม่ได้รับนัดหมาย ๑ วันนั้นเป็นวันเพ็ญมาฆมาสถูกนักษัตร ฤกษ์โบราณ เป็นดีถีที่ทำพิธีศิวาราตรีของพราหมณ์ครั้งนั้น ๑ พระองค์ประทานพรบรมพุทโธ เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ ทรงยกขันติขึ้นตรัสโดยความเป็นคุณสมบัติของภิกษุเป็นประการ ต้นว่า ขนฺติ ปรม ตโป ตีติกขา ความว่า ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตปธรรม คือคุณอัน เผาผลาญบาปธรรมเป็นอย่างยิ่ง ขันติในที่นี้ หมายถึงความอดทนต่อเหตุแห่งทุกข์เป็นที่ตั้งแห่ง โลภะ โทสะ โมหะ ครบทั้ง ๓ ประการ, หนาว ร้อย หิวระหาย เป็นเหตุแห่งทุกข์ที่ตั้งแห่ง โทสะ, ทุกขเวทนาอันแรงกล้า เป็นเหตุแห่งทุกข์ที่ตั้งแห่งโมหะ, ท่านผู้เป็นสมณะ ย่อมมีขันติ ธรรม รู้จักอดทนต่อเหตุแห่งทุกข์ทุกอย่างไป. ขันติเป็นธรรม วาท
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More