ความสำคัญของสัจจะในราชธรรม มงคลวิเสสกถา หน้า 355
หน้าที่ 355 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความสำคัญของสัจจะในบริบทของราชธรรมและการปกครองของพระราชาธิบดี โดยเน้นว่าพระราชาจะต้องรักษาสัจจะเพื่อความเชื่อมั่นของประชาชน และยังมีการอธิบายถึงผลกระทบของการละเมิดสัจจะในมุมมองของยุคปัจจุบัน พร้อมยกตัวอย่างถึงพระราชาในอดีตที่ทรงได้รับผลกระทบจากการตั้งอยู่ในสัจจะ และผลกรรมที่ตามมา สำหรับผู้ทำมุสาและละเลยสัจจะว่ามีผลกระทบต่อชีวิตและกระทำฝ่ายตัวเองในปรโลกอย่างไร ข้อความนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาสัจจะไม่เพียงแต่ในฐานะผู้ปกครอง แต่ยังในฐานะประชาชนทั่วไปด้วย

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสัจจะ
-บทบาทของพระราชาธิบดี
-มุมมองเกี่ยวกับกรรม
-ผลกระทบจากการละเมิดสัจจะ
-ธรรมะและการปกครองในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๓๖๐ จักเป็นอารยบุคคลหาได้ไม่ ในฝ่ายอาณาจักร สัจจะจัดเป็นราชธรรมประการหนึ่งโดยชื่อว่าอาชีวะ คือความเป็นผู้ตรง ในทศพิศราชธรรมสำหรับพระราชาธิบดี ในเรื่องโบราณกล่าวถึงพระราชาบาง พระองค์พลั้งพระ พระราชทานพรแก่ผู้ใดผู้หนึ่งแล้วทรงรู้สึกภายหลังว่า เป็นการเกินสมควร ย่อม อักอ่วนพระราชหฤทัยไม่น้อย ในที่สุดต้องปล่อยเลยตามเลยเพื่อจะแสดงว่า พระราชาย่อมทรง ไม่ใช่เพียงตั้งอยู่ในสัจจะด้วย หนักอยู่ในการรักษาสัตย์อันท่านผู้เป็นพระราชาครองแผ่นดิน พระองค์เอง ยังชักนำพสกนิกรให้ตั้งอยู่ในสัจจะด้วย เช่นตั้งกฎหมายป้องกันการหลอกลวงแลเบิก พยานเท็จเป็นต้น เอกชนก็ดี ชุมนุมชนก็ดี ผู้มีธุระเกี่ยวถึงกัน ทำสัญญากันเนื่องด้วยกิจการนั้น ก็ เพื่อผูกพันกันให้ตั้งอยู่ในสัจจะ สจเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ สัตบุรุษเป็นผู้อยู่ในสัจจะที่ประโยชน์ด้วย อหุ สนฺโต ปติฏฐิตา เป็นธรรมด้วย แม้เสียประโยชน์ส่วนตนก็ยอมโดย ผู้รักษาสัตย์ย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ สมัคร สัจเจน กิตติ ปปโปติ เอกธมฺมมตีตสฺส มุสาวาทสฺส ชนฺตโน วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาง อการย์ คนล่วงเสียซึ่งสัจจะเป็นธรรมอันหนึ่ง กล่าวมุสาไป ข้ามปรโลกเสียแล้ว คือไม่กลัวภัยในปรโลก บาปอันผู้นั้นไม่พึงทำ เป็นไม่มี มธุวา มญฺญติ พาโล ยาว ปาป๊ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจติ ปาป อถ ปาปาน คจฺฉติ ។ ชนพาลย่อมสำคัญเห็นการทำบาปว่าหวาน ตลอดกาลที่บาปยังไม่สุก บาปสุกเมื่อใด ย่อมได้เสวย ผลแห่งบาปเมื่อนั้น แม้แก้ตัวว่าความจำเป็นหากก็ให้ทำ ก็ไม่พ้นคติของกรรมได้ ในที่สุด นำ หายนะมาถึงฝ่ายตนเอง สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พร้อมด้วยสภาราษฎร์ แลรัฐบาลทรงตั้งอยู่ใน สัจจะธรรมเสมอมา เผยพระเกียรติยศให้ปรากฏทั่วเมทนีดล นับเป็นมงคลวิเศษที่ ๒ รัฏฐาภิบาลโนบายนั้น ได้แก่วิธีการปกครองแผ่นดิน ในที่นี้ จักยกบางประการ ขึ้นถวาย วิสัชนามาพอเป็นอุทาหรณ์ อันธรรมะนี้ ได้ท่านผู้มีอำนาจแลกำลังอุปถัมภ์ค้ำชูจำอาจทรงอยู่ได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่โลก เหตุดังนั้น ธมุมตามตา ความเป็นผู้ป้องกันธรรมะ จึงจัดเข้าเป็น ธรรมประการหนึ่ง อันพระมหากษัตริย์เจ้าจะพึงทรงถือเอาเป็นพระราชธุระปราบปรามทุรชน ภายในผู้ล่วงล้ำสิทธิแลลบล้างเสรีภาพของผู้อื่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More