ปัญญาและความไม่ประมาทในบุญกิริยา มงคลวิเสสกถา หน้า 6
หน้าที่ 6 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สรรเสริญความสำคัญของความไม่ประมาทในบุญกิริยาและประโยชน์ที่มาจากการทำบุญในทั้ง 4 ภูมิ ได้แก่ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญญาซึ่งจะสามารถยึดประโยชน์ในชีวิตนี้และในสัมปรายภพ เกี่ยวกับพระราชกุศลที่พระราชสมภารเจ้าได้ทรงบำเพ็ญและความสำคัญของพระปรีชาญาณในการทำบุญและความเป็นมงคลที่เกิดขึ้นตามมา บทความจึงเสนอความคิดที่ว่าความไม่ประมาทนำไปสู่การบรรลุถึงสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต

หัวข้อประเด็น

- ความไม่ประมาท
- บุญกิริยา
- ปัญญา
- สัมปรายภพ
- พระราชกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) อปุปมาท์ ปสํสนฺติ ปุญญกิริยาสุ ปณฺฑิตา ๖ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยา การทำบุญทั้งหลาย อันเป็นไป ณ กาย วาจาจิต และกุศลสุจริตซึ่งเป็นไป ณ ๔ ภูมิ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตร ทุกประการ อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง ประโยชน์เป็นไปในสัมปรายภพภายหน้า อธิคณฺหาติ ปณฺฑิโต โย จตฺโถ สมปรายิโก, ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในทิฏฐธรรมภพนี้และ อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ เพราะอาศัยความบรรลุประโยชน์ที่ประสงค์ทั้งภพนี้และภพหน้า ท่านจึงสรรเสริญผู้มีปัญญาจำทรง ว่าเป็นบัณฑิต ดำเนินในประโยชน์กิจด้วยปัญญา, ความไม่ประมาทเป็นเหตุ ให้บัณฑิตชาติ ยึด ประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ ด้วยประการฉะนี้ พระราชกุศลบุญราศี ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบำเพ็ญโดยกำลังพระ ปัญญาบารมีและพระอัปปมาทธรรม ในอภิลักขิตสมัยจันโทปลักขิตกาลนี้ เป็นปฏิปทาให้อิฏฐิวิบุล ผล คือ อายุ วรรณ สุข ยศ และสวรรค์ เป็นไปโดยชอบ ต้องตามสุคโตวาทสัมมาปฏิบัติ ด้วย ประการฉะนี้. อิโต ปร์ ปวกขามิ มหาราชาธิราชสุส วัจจมาน หิ สุตฺวาน อุปปชเชยย นรินทสฺส ภิยโย สมุปาทเน จิตต์ เตนาปัจ ชนินทสุส ต ต์ วิเสสมงคล คุณาลงฺการสมุมติ โยนิโส ปจฺจเวกฺขโต โสมนสฺสมนปุปก ปณิเธ ตทนนุตร์ โสตฺถิ จ มงคล สิยา ฯ ลำดับนี้ จะรับพระราชทานกล่าวพรรณนาพระราชจริยาสาธุปฏิบัติที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอัน พิเศษยิ่ง ซึ่งได้ชื่อว่ามงคลวิเสสเป็นพระคุณอลังการ มีพร้อมบริบูรณ์ในสมเด็จบรมบพิตรพระราช สมภารเจ้า เมื่อได้ทรงสดับแล้วทรงพระปัจจเวกขณ์ถึงโดยกำลังพระปรีชา ก็จะเกิดพระปีติ ปราโมทย์มีประมาณมิใช่น้อย แต่นั้นก็จะตั้งพระราชหฤทัย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More