พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสและเรื่องราวของแคว้นวัชชี มงคลวิเสสกถา หน้า 58
หน้าที่ 58 / 390

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ของกษัตริย์ลิจฉวีในแคว้นวัชชี ยุคที่พวกเขามีความสามัคคีในการป้องกันอาณาจักร แต่ถูกทำลายโดยแผนการแบ่งความสามัคคี จนทำให้ไม่สามารถบรรลุผลได้ ตามคัมภีร์ชาดกได้ยกตัวอย่างให้เห็นถึงความสำคัญของเวลาและการจัดการที่ถูกต้อง ในตอนที่พระเทวทัตต์และสถานการณ์การเมืองของมเหสีที่มีการกระทำต่างๆ เพื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการ แต่ท้ายที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการกระทำก็จะคลาดเคลื่อนจากผลสำเร็จ.

หัวข้อประเด็น

-แคว้นวัชชี
-ความสำคัญของการมีสามัคคี
-พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
-การใช้กลอุบายในการต่อสู้
-คัมภีร์ชาดก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ៥៨ พวกกษัตริย์ลิจฉวี ผู้ครองแคว้นวัชชี ในเวลาเธอกำลังตั้งอยู่ในสามัคคีพรักพร้อมเป็นสมานฉันท์ ช่วยกันต่อสู้ป้องกันอาณาจักรด้วยความองอาจ ท้าวเธอก็ไม่สามารถจะได้ชัยชนะ ต่อภายหลัง แต่งกลอุบายปล่อวัสสการพราหมณ์มหาอมาตย์ไปยุยงให้แตกสามัคคีจากกัน จงได้มิชย ตีได้ แคว้นวัชชีมอยู่ใต้อำนาจของพระองค์, ข้อนี้ก็ให้ลงสันนิษฐานว่า ครั้งก่อนยังไม่เป็นเวลา การจึง ไม่สำเร็จสมหมาย ครั้นภายหลังประกอบถูกคราวจึงสำเร็จได้ แม้ในคัมภีร์ชาดก ท่านก็ได้ยก ความข้อนี้ขึ้นแสดงในบาทคาถาโดยความเป็นราชภาษิตของพระเจ้าคามณีว่า อปิ อตรมานาน ผลาสาว สมิชฺฌติ เออก็ความหวังในวิบุลผล ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีปรีชาญาณค่อยประกอบการงานโดยอุบาย ไม่ มักง่ายด่วนเห็นแต่ได้เข้าว่า ดังนี้ อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อถึงเวลาก็หาประกอบกิจที่จะพึงทำไม่ ปล่อย ให้กาลล่วงไปเสียแล้ว จึงปรารถจะทำเมื่อภายหลัง เมื่อเป็นดั่งนี้ ก็จะคลาดจากประโยชน์ที่จะพึง ได้ฟังถึง, ข้อนี้มีเรื่องพระเทวทัตต์เป็นนิทัสสนะ พระเทวทัตต์นั้นในเวลาที่เธอยังสามารถ ก็มิได้ นิยมในโอวาทอนุศาสน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระศาสดา ก่อเวราฆาตคิดร้ายใน แต่ก็ไม่สำเร็จตามมุ่งหมาย ครั้นภายหลังเมื่อกำลังอยู่ที่คยาสีสประเทศอาพาธ พระองค์เสียอีก หนัก กลักจิตหวนคิดถึงพระบรมศาสดาอ้อนวอนพวกศิษย์ให้พาไปพระเชตะวัน ยังไม่ทันได้เฝ้า ก็ พอเกิดวิบัติมาตัดชีวิตเสีย ซึ่งพระโบราณจารย์กล่าวว่าต้องแผ่นดินสูบ หากว่าในเวลาสามารถ เธอไม่เป็นเช่นนั้น ก็น่าจะบรรลุธรรมพิเศษส่วนโลกีย์โลกุตตรโดยควรแก่ปฏิบัติ, นี่มากลับจิตได้ ในเวลาไม่เป็นโอกาส จึงได้คลาดจากประโยชน์คุณที่จะควรได้ควรถึงเช่นนี้ แม้ในคัมภีร์ชาดก ท่านก็ได้ยกข้อนี้ขึ้นแสดงในคาถา โดยความเป็นภาษิตของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักสิลา ผู้สอนมาณพ ๕๐ ให้เล่าเรียนศิลปะศาสตร์ มาณพผู้หนึ่งรับใช้ไปหาฟืนไปเขื่อนเสีย ครั้นเพลา เย็นเก็บอะไรไม่ทัน หักได้ไม้ทุ่มสดมา, อาจารย์ยกเรื่องนี้เป็นอุปัตติเหตุแล้ว และกล่าวติให้เป็น คติของมาณพทั้งปวงว่า โย ปุพเพ กรณียาน วรุณกฏฐ์ ภญโชว ปุจฉา โส กาตุมิจฺฉติ ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ (๒) (๑) ขุ. ชา เอก ๒๗/๓. (๒) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More