สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) มงคลวิเสสกถา หน้า 364
หน้าที่ 364 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความสำคัญของธิติและตาทิตาในแง่ของคุณสมบัติที่พึงประสงค์ในทั้งคดีโลกและคดีธรรม โดยเชื่อมโยงกับพระราชดำรัสของพระเจ้าและความสำคัญของบัณฑิตที่ไม่หวั่นไหวต่อคำสรรเสริญหรือนินทา นอกจากนี้ยังเป็นการเน้นถึงความมั่นคงและอิสระของจิตใจตามหลักพุทธศาสนา รวมถึงการยกตัวอย่างจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนาเพื่อสื่อสารความหมายของธรรมบทที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อประเด็น

- ธิติ
- ตาทิตา
- พุทธศาสนา
- ความมั่นคง
- บัณฑิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) พ. ศ. ๒๔๘๔ ๓๖๙ ในศกนี้ (๒๔๘๔) จักเลื่อมมาถวายวิสัชนา ๒ ประการ คือ ธิติ (ธิติถวายซ้ำ พ.ศ. ๒๔๗๑) ๑ ตาทิตา ด ธิติ เป็นคุณสมบัติ อันจะพึงปรารถนาทั้งในคดีโลก ทั้งในคดีธรรม ด้วยประการฉะนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พร้อมด้วยรัฐบาล ทรงมั่นอยู่ในรัฏฐาภปาลโน บาย ค่อยเพิกถอนอุปสรรคทั้งหลาย แห่งพระราชอาณาจักรเสีย แลนำไปสู่ความเป็นอิสระแก่ใจ ความบริบูรณ์ไม่บกพร่องแลความมั่นคง ธิตินี้จัดเป็นมงคลอย่างสูง เป็นเหตุนำมาซึ่งสวัสดี นับเป็นมงคลวิเศษประการที่ต้น ส่วนตาทิตา คือความเป็นเช่นนั้น ได้แก่ความคงที่ ไม่แสดงวิการด้วยอำนาจยินดียินร้าย เป็นต้น ให้ปรากฏ มีนิทัศนะแสดงในคาถาในปัณฑิตวรรคแห่งธรรมบทดังนี้ เสโล ยถา เอกมโน เอว์ นินทาปส์สาสุ วาเตน น สมีรติ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา ฯ ภูเขาศิลาล้วนเป็นก้อนเดียว ย่อมไม่สะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่นไหวใน เพราะนินทาแลสรรเสริญฉันนั้น สุเขน ผฏฐา อถวา ทุกเขน น อุจจาวน์ ปณฺฑิตา ทสฺสสนฺติ ฯ บัณฑิตทั้งหลายอันสุขก็ตาม อันทุกข์ก็ตามถูกต้องแล้ว ย่อมแสดงอาการขึ้น ๆ ลง ๆ ชนผู้เป็นตา ที่ผู้คงที่ อันใคร ๆ ไม่สามารถจะล่อให้ติดด้วยอิฏฐารมณ์แล้วนำไปสู่อำนาจแห่งตน แลไม่อาจขู่ ให้ตกใจกลัวแล้วกำจัดเสีย ย่อมอาจยังฐานะของตนมั่น สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า ทรงตาทิ คุณอย่างอุกฤษฎ์ ถูกมารธิดาประโลมล่อก็มี ดังมีเรื่องเล่าว่า มารธิดา ๓ นาง ชื่อว่าตัณหา อรดี ๑ ราคา ด อาสามารผู้บิดามายั่วยวนสมเด็จพระนราสภ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More