ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
พ.ศ. ๒๔๗๐
២៨៨
ในปีนี้ (พ.ศ. ๒๔๗๐) จะเลือกธรรมมารับพระราชทานถวายวิสัชนา ๒ ประการ คือ
สมานัตตตา ๑ รัฏฐิปาลโนบาย ๑ พอเป็นนิทัศนนัย
สมานัตตตา นั้น แปลว่า ความเป็นผู้มีสมานัตตตานั้นแปลว่า ความเป็นผู้มีตนเสมอ
อธิบายว่า ความประพฤติสม่ำเสมอในธรรมทั้งหลายที่ให้เป็นไปในบุคคลนั้น ๆ ตามสมควรชื่อ
ว่า สมานัตตา มีความต่างแห่งอาการที่ประพฤติดังนี้ ชนผู้เป็นญาติก็ประพฤติตน
ที่เป็นญาติคือนับถือกันตามสมควร ไม่ดูหมิ่นกันเพราะมีอิสริยยศอำนาจศฤงคารบริวารไม่เสมอ
ตามฉัน
กันดังนี้ ชื่อว่าประพฤติตนสม่ำเสมอในญาติธรรม คณข้อนี้ เป็นสวัสดิมงคลให้เกิดศุภวิบุลผลแก่ผู้
ประพฤติ สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จึงประทานพระบรมพุทโธวาทให้ตั้งอยู่ในคุณข้อนี้ทั้งคฤหัสถ์
บรรพชิต
ทรงแสดงกิจของผู้ครองเรือนที่ใช้จ่ายโภคทรัพย์ด้วยดี ก็ยกญาติพลีคือการสงเคราะห์
จะทำยาให้แก่ญาติก็ไม่ห้าม
ญาติว่าเป็น กรณียะอย่างหนึ่งซึ่งทำแล้วก็จะได้ชื่อว่าถือเอาประโยชน์แห่งโภคทรัพย์ เป็นอันไม่
จับจ่ายเปล่า ฝ่ายบรรพชิตเล่าก็ทรงเปิดโอกาสให้บำเพ็ญญาตัตถจริยาได้ตามสมควร เช่นภิกษุ
ให้พัสดุของตนก็ไม่เป็นกุลทูสกหรือทำศรัทธาไทยให้ตก จะให้จีวร
แก่นางภิกษุณีผู้เป็นญาติหรือ รับบิณฑบาตจากเธอด้วยมือของตนเองแล้วฉันก็ไม่ต้องอาบัติ และไม่
เป็นวิญญัติ เพราะขอปัจจัย ๔ กะคฤหบดีผู้เป็นญาติ แท้พระองค์เองก็ไม่ทรงละเมินในกิจนี้ เมื่อ
ตรัสรู้แล้วก็ได้เสด็จไปเทศนา โปรดพระญาติ และมีเรื่องเล่าในอรรถกถาพระธรรมบทว่าพระองค์
ได้ทรงห้ามวิวาทในระหว่างหมู่พระญาติให้ระงับ และห้ามทัพวิฑูฑภะเจ้าโกศลรัฐผู้คิดจะกำจัดศาก
ยวงศ์ไว้ได้ด้วยอุบายถึง ๒ ครั้ง ฯ
อนึ่ง พระองค์ยังได้ประทาน บริหารแผนกหนึ่งแต่พระญาติผู้บวชเป็นเดียรถีย์จะมาบวชใน
พระธรรมวินัยนี้ไม่ต้องประพฤติติตถิยปริวาสถ้วย ๔ เดือน ก่อนเหมือนผู้อื่น พอมาถึงก็ให้บวชได้
ทีเดียว อันญาตินี้ย่อมมีไมตรีสนิทกว่าผู้อื่น เป็นผู้รู้สึก