ความสำคัญของกัตตุกัมยตาฉันทะและวิริยะในพุทธศาสนา มงคลวิเสสกถา หน้า 94
หน้าที่ 94 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงกัตตุกัมยตาฉันทะหรือความพอใจในการทำสิ่งต่าง ๆ และความเพียรในการทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการถือศีลในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายถึงบทเรียนจากพระมหาชนกที่ประสบภัยในทะเลและการช่วยเหลือจากนางมณีเมขลา และการที่บุคคลที่มีความหวังและความเพียรไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ จะทำให้สามารถก้าวเข้าสู่สิ่งที่ดีงามได้ ซึ่งแม้ไม่สำเร็จก็ยังสามารถตั้งตนอยู่ในความสงบและเป็นที่ยกย่องในสังคมได้ โดยเปรียบเทียบกับการวิดเรือที่จะพาไปสู่ฝั่ง ความสำเร็จในชีวิตจึงเกิดจากการไม่ย่อท้อและความมานะอุตสาหะ ตั้งความหวังเพื่อไปยังจุดหมายที่ตนตั้งไว้

หัวข้อประเด็น

-กัตตุกัมยตาฉันทะ
-วิริยะ
-พระมหาชนก
-พุทธศาสนา
-การพัฒนาตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) พยายามวายเพื่อจะเข้าถึงฝั่ง ๙๔ กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่จะทำนั้น เป็นคุณพยุงความเพียรมิให้ ถอย พระโบราณาจารย์ผู้รจนาชาดกปกรณ์ กล่าวเรื่องพระมหาชนกตกอยู่ ในมหาสมุทร นางมณีเมขลามาช่วยให้รอดดังนี้นั้น ก็เพื่อจะแสดงโดยบุคค ลาธิษฐาน ซึ่งคุณคือกัตตุกัมยตาฉันทะและวิริยะ คือความเพียร อย่างกล้าหาญ ว่าเป็น เครื่องรอดจากอันตรายของบุคคล ។ หากว่าพระมหาชนกจะหาฉันะมิได้ ไหนเลยจะมีความ เพียรว่ายอยู่ในมหาสมุทรอันอ้างว้าง กว่านางมณีเมลาจะมาช่วย ฯ บุคคลผู้มีความหวังก็ ยังจะพากเพียรอยู่ก่อน ฝ่ายบุคคลผู้สิ้นหวังแล้ว แต่ไม่ทอดเพียรเสียก็เพราะกัตตุกัมยตาฉันทะนี้ เอง เมื่อทำไป แม้หากจะไม่สำเร็จก็ยังจะ ได้อัสสาทะคือ ความสบายใจว่า ได้ทําสมควร ตนเองย่อมติตนเองไม่ได้ ทั้งวิญญูชนก็ย่อมสรรเสริญ การทำที่เว้นจากครหาอันเป็นสหธรรม ของตนและผู้อื่น ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความร้อนใจในภายหลัง ฯ ฝ่ายบุคคลผู้สิ้นหวังแล้ว เพียรเสียย่อมไม้พ้นจากครหาไปได้ ผู้อื่นจะติก็ทำเนา ตนติตนได้นั่นแลเป็นสำคัญ ข้อนั้นย่อม เกิดความวิปปฏิสารเมื่อปลายมือ ฯ แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานบรมพุทโธวาทไว้ว่า สิญฺจ ภิกขุ อิม นาว สิตตา เต ลหุเมสฺสติ ฯ ทอด ดูก่อนภิกษุ ท่านจงวิดเรืออันนี้ เรือที่ท่านวิดแล้วจักพลันถึง ข้อซึ่งพระองค์ ตรัสดังนี้ ก็ เพื่อจะยังกัตตุกัมยตาฉันทะให้เกิดแก่ภิกษุผู้รับเทศนา ควรเป็นอุทาหรณ์ สำหรับพุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ผู้ประกอบกิจอันเป็นไปเพื่อความดีความงามแก่ตน และผู้อื่น ฯ เรือในที่นี้เป็นแต่คำเปรียบ เรือเป็นที่ตั้งอาศัยในการไปโดยชลมารค หรือ ข้ามฟากไปฝั่งโน้น ถ้าเรือรั่วน้ำเข้าได้ การไปก็ไม่ สะดวกพาให้ช้า หรือน่าจะอัปปาง ลงก็ได้ ถ้าคนในเรือหมั่นวิด คิดอุบายแก่อย่าให้รั่วได้ ก็จะ รอดจากอันตรายเป็นของเบาแล่นไปถึงเร็ว อัตภาพการงานถิ่นฐานตลอดถึงบ้านเมือง ก็เหมือนกัน อัตภาพ การงาน ถิ่นฐาน ตลอดถึงบ้านเมือง ก็เหมือนกัน ย่อมเป็นที่ตั้งอาศัยในอันท่องเที่ยวอยู่ ในภพนั้นๆ ถ้าไม่มั่นคงและเสียหายลงในทางใดทางหนึ่ง ก็จะชักช้าไม่สามารถที่จะลุถึงความเจริญ ถ้าเจ้าของเอาเป็นธุระ ระวังความเสียหายอย่าให้เกิดขึ้น ไม่ให้ถอยหลัง ก็จะพลันถึง ความเจริญไม่ตกต่ำในภพนั้น ๆ กัตตุกัมยตาฉันทะย่อมพยุงวิริยะ เพื่อสำเร็จแห่งผลมีประการ ทีเดียว ดงน. (๑) ขุ. ธ. ๒๕/๖๕ (๒) อง. จุดกุก ๒๑/๙๘.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More