พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส มงคลวิเสสกถา หน้า 37
หน้าที่ 37 / 390

สรุปเนื้อหา

ในพระบทธรรมที่กล่าวถึงสมานัตตาและการประพฤติตนตามธรรมชาติในความสัมพันธ์ของญาติและการบริหารจัดการทรัพย์สิน โดยอธิบายความสำคัญของการถือประโยชน์ส่วนรวมและโยงความสำคัญเรื่องญาติธรรมที่สร้างศุภผลให้กับผู้ประพฤติตนตามธรรม อธิบายถึงความเมตตาและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในครอบครัวและการเป็นญาติ ตลอดจนหลักการในความผิดพลาดของมนุษย์ที่หากไม่มีญาติสัมพันธ์จะเปรียบเสมือนพฤกษชาติที่ทำให้เกิดความยากลำบากในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ประพฤติตนสม่ำเสมอ
-ความสำคัญของญาติธรรม
-การบริหารจัดการทรัพย์สิน
-การสงเคราะห์ญาติ
-หลักธรรมของพระมหาสมณเจ้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ในศก ๑๒๓ ຕຕ พระคุณพิเศษ ส่วนอัตตสมบัติ จะถวายวิสัชนาด้วยสมานัตตาส่วนปรหิตปฏิบัติ จะถวายวิ สัจนาด้วยการุญญภาพ และรัฏฐาภิบาลโนบาย พอเป็นนิทัสสนนัย สมานัตตตานั้นแปลว่า ความเป็นผู้มีตนเสมอ อธิบายว่า ความประพฤติสม่ำเสมอใน ธรรมทั้งหลายที่ให้เป็นไปในบุคคลนั้น ๆ ตามสมควรชื่อว่า สมานัตตา มีความต่างแห่ง อาการที่ประพฤติดังนี้ ชนผู้เป็นญาติก็ประพฤติตน ตามฉันที่เป็นญาติคือนับถือกันตามสมควร ไม่ดูหมิ่นกันเพราะมีอิสริยยศอำนาจศฤงคารบริวารไม่เสมอกันดังนี้ ชื่อว่าประพฤติตนสม่ำเสมอ ในญาติธรรม คุณข้อนี้ เป็นสวัสดิมงคลให้เกิดศุภวิบุลผลแก่ผู้ประพฤติ สมเด็จพระบรมศาสดา จารย์จึงประทานพระบรมพุทโธวาทให้ตั้งอยู่ในคุณข้อนี้ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ฝ่ายบรรพชิตเล่าก็ ให้ ทรงแสดงกิจของผู้ ครองเรือนที่ใช้จ่ายโภคทรัพย์ด้วยดี ก็ยกญาติพลีคือการสงเคราะห์ญาติว่าเป็น กรณียะอย่างหนึ่ง ซึ่งทำแล้วก็จะได้ชื่อว่าถือเอาประโยชน์แห่งโภคทรัพย์ เป็นอันไม่จับจ่ายเปล่า ทรงเปิดโอกาสให้บำเพ็ญญาตัตถจริยาไดตามสมควร เช่นภิกษุจะทำยาให้แก่ญาติก็ไม่ห้าม พัสดุของตนก็ไม่เป็นกุลทูสกหรือทำศรัทธาไทยให้ตก จะให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้เป็นญาติหรือ รับ บิณฑบาตจากเธอด้วยมือของตนเองแล้วฉันก็ไม่ต้องอาบัติ และไม่เป็นวิญญัติ เพราะขอปัจจัย ๔ กะคฤหบดีผู้เป็นญาติ แท้พระองค์เองก็ไม่ทรงละเมิดในกิจนี้ เมื่อตรัสรู้แล้วก็ได้เสด็จไปเทศนา โปรดพระญาติ และมีเรื่องเล่าในอรรถกถาพระธรรมบทว่าพระองค์ได้ทรงห้ามวิวาทในระหว่างหมู่ พระญาติให้ระงับ และห้ามทัพวิฑูฑภะเจ้าโกศลรัฐผู้คิดจะกำจัดศากยวงศ์ไว้ได้ด้วยอุบายถึง ๒ ครั้ง อนึ่ง พระองค์ยังได้ประทาน บริหารแผนกหนึ่งแต่พระญาติผู้บวชเป็นเดียรถีย์จะมาบวชใน พระธรรมวินัยนี้ไม่ต้องประพฤติติตถิยปริวาสถ้วน ๔ เดือน ก่อนเหมือนผู้อื่น พอมาถึงก็ให้บวชได้ ทีเดียว อันญาตินี้ย่อมมีไมตรีสนิทกว่าผู้อื่น เป็นผู้รู้สึกด้วยในสุขทุกข์และเป็นกำลังในกิจการ ชน ผู้ไร้ญาติ ก็ปานพฤกษชาติอันหาสาขามิได้ ไม่มีกำลังพอจะทนพายุพัด มีทางจะถึงวิบัติ โดยง่ายดาย แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิราชยังต้องมี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More