ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญญาณวรเถร)
อิโต ปร์ ปวกขาม
รุจจมาน หิ สุตวาน
มหาราชาธิราชสุส
ตโต สมฺปาทนตฺถาย
สมมา วา ปกหนฺตสฺส
ตปปจฺจยา
ชนินทสฺส
ต ต์ วิเสสมงคล
โยนิโส ปจฺจเวกฺขโต
ภเวยย
กตฺตุกามตา
ภิยโยภาวาย สพฺพถา
ธมฺเมน ปฏิปชฺชโต
สิยา สุวตถุมงคล
។
๒๔๗
ลำดับนี้ จะรับพระราชทานเลือกสรรคุณสมบัติที่ตั้งแห่งสวัสดิมงคลอันพิเศษยิ่งซึ่งได้ชื่อว่า
มงคลวิเศษมาถวายวิสัชนา เพื่อประดับพระปัญญาบารมี ได้ทรงสดับแล้วทรงพระปัจจเวกขณ์ด้วย
กำลังพระปรีชาญาณ พระราชปณิธาน เพื่อจะทรงบำเพ็ญจะพึงเกิดมีแด่สมเด็จบรบพิตรพระราช
สมภารเจ้า แต่นั้นทรงพระราชอุตสาหะโดยอาการอันชอบเพื่อจะยังคุณสมบัตินั้น ๆ อันยังขาดให้
บริบูรณ์ เพื่อเพิ่มพูนส่วนที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วให้ภัยโยยิ่ง ทรงปฏิบัติอยู่โดยราชธรรม พระราช
สิริสวัดิ์พิพัฒนมงคลจะพึงสำเร็จแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า เพราะพระราชจรรยานั้น
เป็นปัจจัย.
ในศกนี้ (พ.ศ. ๒๔๖๔) ได้เลือกมาถวายวิสัชนา ๓ ประการ คือ กาลัญญุตา
จริยา ๑ รัฏฐาภิบาลโนบาย ๑.
๑ อรรถ
กาลัญญุตา ข้อต้นนั้น มีพรรณนาว่า เวลา คือคราวครั้ง อันสมควร หรือเป็นโอกาส ชื่อว่า
กาลในที่นี้ บุคคลผู้รู้จักกาล เช่นนั้น ชื่อว่า กาลัญญู · ความเป็นผู้เช่นนั้น ชื่อว่า
กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล, คุณข้อนี้เป็นสำคัญในอันประกอบงานนั้น ๆ ถ้าบุคคลไม่
เป็นกาลัญญู เมื่อถึงคราวที่ควรทำ ก็หาทำไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะคลาดจากประโยชน์ที่จะควร
ได้ควรถึง ประโยชน์ซึ่งได้อยู่แล้ว ก็กลับจะเสื่อมเสียไป ภัยอันตรายก็ได้ช่อง ที่จะเกิดมี ข้อนี้
พึงสาธกด้วยทีฆาวุชาดกตอนต้น
น้อย
ครั้งพระเจ้าพรหมทัตผู้ครองแคว้นกาสีเสด็จกรีฑาพล เพื่อจะ
ไปตีโกศลรัฐ, พระเจ้าที่มีติผู้ผ่านสมบัติในอาณาจักรนั้น ทรงพระดำริเห็นว่า พระองค์มีอาณาเขต
ทั้งขัดสน มีพระราชทรัพย์พลพาหนะก็น้อย คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และฉางอันเป็นที่
รวบรวมเสบียงอาหารก็บกพร่องไม่สมบูรณ์ ไม่มีทางจะต่อยุทธ์กับพระเจ้าพรหมทัตผู้มีกำลัง
ใหญ่ แม้แต่เพียงศึกเดียวเท่านั้น ครั้นลงสันนิฏฐานเช่นนี้แล้วก็ทิ้งพระนครเสีย ปลอมพระองค์
พาพระมเหสีประสาตไป, พระเจ้าพรหมทัตต์ก็ได้โกศลรัฐโดยง่ายดาย ไม่พักต้องรบยังจับพระ
เจ้าที่มีติกับพระมเหสีได้ในภายหลังอีกด้วย . โกศลรัฐแม้เป็นประเทศน้อย แต่ตั้งอยู่ติดต่อกับ
แคว้นกาสีอัน