ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
พ. ศ. ๒๔๗๒
២០៨
ในปีนี้ (พ.ศ. ๒๔๗๒) จะเลือกธรรมารับพระราชทานถวายวิสัชนา ๓ ประการ คือ
สหกรณ์ สันติ
๑
๑
รัฏฐาภิปาลโนบาย
๑
พอเป็นนิทัศนนัย.
สหกรณ์ นั้น คือการทำร่วมกัน อันมีประจำอยู่ทั่วไปทั้งในทางโลก ทั้งในทางธรรม
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จแห่งกิจอันประกอบร่วมกัน ตลอดถึงกิจอันแยกออกเป็นต่างหน้าที่ แต่
ต่างย่อมได้ความ
จำจะอาศัยกัน ดังอุทาหรณ์ต่อไปนี้ โกฏฐาส คือส่วนทั้งหลายอันคุมกันเข้าเป็นสรีระร่างกายนี้
ต่างมีหน้าที่แผนกหนึ่ง ๆ เพื่อช่วยกันบำรุงสรีระให้เป็นไป ยังพรักพร้อมทำหน้าที่ร่วมกันเพียงใด
ความเป็นไปโดยผาสุกแห่งสรีระย่อมมีเพียงนั้น โกฏฐาสทั้งหลายเหล่านั้น
สะดวกแห่งกิจของตน ๆ ด้วยถ้าโกฏฐาสอันหนึ่งหรือมากกว่านั้น ทำหน้าที่บกพร่องไม่
สม่ำเสมอโกฏฐาสอื่น ๆ ก็พลอยทำหน้าที่ไม่สะดวกด้วย มากน้อยเป็นตามโกฏฐาสอันเสียไปนั้น
ถ้าเป็นโกฏฐาสสำคัญเช่นปอด หรือหัวใจแม้เพียงอันเดียว ก็อาจทำโกฏฐาสอื่น ๆ ให้ติดขัดไป
ตามกัน แต่นั้น ความเป็นไปแห่งสรีระก็ไม่ผาสุก กล่าวคือ มีโรคเกิดขึ้นตัดรอนทอนกำลังแห่ง
สรีระนั่นเองอาจถึงเป็นอันตรายก็ได้ โกฏฐาสทั้งหลายสรีระต้องการสหกรณ์แห่งกันแลกัน โดย
ธรรมดานิยม ด้วยประการอย่างนี้ มีบาลีแสดงผลแห่งสหกรณ์ของโกฏฐาสทั้งหลายว่า อปปา
พาโธ อปปาตงโก สมเวปากิริยา คณิยา สมนนาคโต นาติสีตาย นาจจุณหาย มชุฒิ
มาย ปธานกุขมาย แปลว่า คนมีเจ็บไข้น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ อบพอเสมอ ไม่เย็นนัก
ไม่ร้อนนัก เป็นประมาณกลาง ควรแก่ความเพียร ดังนี้ ผลนี้ย่อมถือว่าเป็นสำคัญ ดังพระพุทธ
ภาษิตว่า อโรคยปรมา ลาภา บรรดาลาภทั้งหลาย มีความหาโรคมิได้เป็นอย่างยอด สมเด็จ
พระบรมศาสดาทรงยกขึ้นเป็นเครื่องแนะนำภิกษุผู้ได้ผลนั้น ให้รีบบำเพ็ญเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ ไม่ปล่อยโอกาสให้ล่วงไปเสีย โกฏฐาสทั้งหลายย่อมรวมกันเข้าเป็นสรีระฉันใด ชน
หมู่หนึ่ง ๆ หรือ