ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
๗๓
มุ่งหมาย เป็นผลแห่งความเพียรและแกล้วกล้า พระคุณข้อนี้นับว่าเป็นวิริยสมบัติเป็นมงคลอัน
มหาประเสริฐ มีในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า นั้น เป็นประการที่ต้น
โลกัตถจริยา คือความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่โลก และคำว่าโลกในที่นี้ นั้นโดย
พยัญชนะ เป็นชื่อของแผ่นดินทั้งมวลหรือโดยเอกเทศ. โดยอุปจารโวหารคือคำกล่าวอ้อม เป็นชื่อ
ของประชาชนผู้อาศัยอยู่ ณ โลกนั้น เพราะเหตุนั้น ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่แผ่นดินอัน
เป็นถิ่นฐานและประชาราษฎร์ จัดว่าเป็นโลกัตถจริยาโดยบรรยาย
คุณข้อนี้เป็นปฏิปทา
เครื่องหมายของท่านผู้เป็นบุรุษรัตน์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำเดิมแต่ได้ตรัสรู้ก็ได้ทรง
บำเพ็ญพุทธกิจอันใหญ่ พระองค์แผ่พระญาณทอดพระเนตรโลก ณ เวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่งและ
สายัณหสมัยตอนพลบค่ำ เมื่อมีพุทธเวไนย์ปรากฏในพระญาณ โดยอาการที่มีอุปนิสัยจะได้ตรัสรู้
มรรคผล หรือถึงพระไตรนรณคมน์หรือจะได้ลุคุณสมบัติอย่างอื่น ๆ พระองค์ก็เสด็จไปโปรด ด้วย
พระมหากรุณา ตั้งต้นแต่ตรัสประถมเทศนาโปรดพระภิกษุปัญจวัคคีย์ พอมีพระสาวกขึ้นบ้าง ก็ส่ง
จาริกไปในทิศานุทิศ เพื่อประกาศพระศาสนา ข้อนี้ก็ทรงปรารภหิตสุขแห่งสัตวโลกเป็นที่ตั้ง แจ้ง
ในพระวาจาตรัสสั่งดังนี้ว่า จรถ ภิกฺขเว จรริก พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย
อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสสาน ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อเกื้อกูล
แก่ชนมาก เพื่อสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แห่ง
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ไป ๗ รูป โดยทางเดียวกัน จงแสดงธรรม
ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ประกาศศาสนาบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ สัตว์ทั้งหลายที่มีสัญชาติเป็นผู้มีธุลีในจักษุน้อย กล่าวคือมีกิเลสเบาบางมีอยู่ เพราะ
ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ย่อมเสื่อมจากธรรม ผู้จะรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมจักมี แม้เราตถาคตก็จักไปอุรุเวลา
ประเทศเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเหมือนกัน ตั้งแต่นั้นก็เสด็จเที่ยวเทศนาโปรดสัตว์ตลอดเวลา
ที่ทรงพระชนม์อยู่เพียงไรประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายไพบูลย์
พระคุณข้อนี้ไว้ในพระพุทธจริยา
๓
พระคันภรจนาจารย์ยกย่อง
เรียกว่า โลกัตถจริยา คือประพฤติประโยชน์แก่โลก ใน
สัมปทา ๓ เรียกว่า สัตตุปการสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยอุปการแก่เวไนสัตว์, พระมหากษัตริย์
เจ้าผู้ครองแผ่นดินต่างโดยพระเดชานุภาพ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นมุรธาภิสิตราช หรือต่ำ
กว่านั้นลงมา ก็ย่อมทรงบำเพ็ญเป็นพระราชจริยาอันสำคัญ พึงสันนิษฐานเห็นในการทรงรักษา
จักรวรรดิวัตร และ
(๑) มหา, วิ. ๔/๓๙.