พระสัปปุริสธรรมในพระราชกิจ มงคลวิเสสกถา หน้า 248
หน้าที่ 248 / 390

สรุปเนื้อหา

พระสัปปุริสธรรมที่แสดงถึงความสำคัญของการรู้จักกาลและการบำเพ็ญกิจที่มีประโยชน์สำหรับประชาชน ถูกนำเสนอผ่านการปฏิบัติของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ การดำเนินงานของพระองค์ให้ประโยชน์ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา รวมถึงการสร้างโรงเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อให้ประชาชนเกิดความสุข ในการรักษาเสถียรภาพของพระราชอาณาจักร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน จากการบำเพ็ญพระราชกุศลในการส่งเสริมคุณค่าทางศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-กาลัญญุตา
-การบำเพ็ญประโยชน์
-พระราชกิจ
-พระพุทธศาสนา
-ความเป็นผู้นำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ล่วงกาลสมัยแลทรงบัญญัติเพิ่มเติมของใหม่ที่ถึงคราวขึ้นให้สมแก่เวลา ๒๕๓ แลทรงจัดการป้องกัน รักษาทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้ถาวรวัฒนา ดำรงความเป็นเอกราช ปราศจากอุปสรรคภัย พิบัติอุปัทวันตรายโดยอเนกประการยั่งยืนสืบต่อมาจนกาลทุกวันนี้ จัดว่าเป็นผลมีมาเพราะพระสัป ปุริสธรรม คือกาลัญญุตาเป็นเหตุ พระคุณข้อนี้ จึงนับว่าเป็นมงคลวิเศษอันล้ำเลิศ ให้เกิดพระราช สิริสวัสดิ์เกษมศานต์เป็นประการที่ต้น กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล เป็นคุณสมภารอย่างสำคัญในอันบำเพ็ญประโยชน์ตนแล ชนอื่น หรือประโยชน์ในโลกนี้แลโลกหน้า เป็นอุปการแก่พระพุทธศาสนาแล พระราชอาณาจักร ทั่วไป ไม่ทำให้ชีวิตเป็นหมัน ปล่อยให้คืนวันล่วงไปเปล่า เสียเวลา คราวสมัย เป็นพลวปัจจัย อุดหนุนอรรถจริยา ซึ่งจะรับพระราชทานถวายวิสัชนาต่อไป ในวาระที่ ๒. อรรถจริยา นั้น คือราชกิจที่ทรงประกอบ ด้วยตั้งพระราชหฤทัยจะให้เป็นประโยชน์แก่พระ ราชวงศ์เสวกราชบริพารแลทวยประชาราษฎร์ ตลอดถึงพระราชอาณาจักรด้วยสามารถทรงชักนำ ในอนวัชชจริยากิจจการาปณะ คือการให้กระทำกิจที่ปราศจาก โทษกอปรด้วยหิตานุหิตประโยชน์ อันเกื้อกูลแก่ตนแลชนทั้งหลายสงเคราะห์เข้าในรัฏฐาภิบาลโนบายแผนกหนึ่ง ซึ่งทรงบำเพ็ญเป็น พระนิพัทธจริยาแลทรงพระอุตสาหะอุดหนุนในทางพระพุทธศาสนา คือกุศลสมาทาปนะ ได้แก่ การชักชวนในกุศลสุจริต สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ตั้งพระราชหฤทัยทรงแสวงหา ประโยชน์ เพื่ออเนกชนนิกรข้าขอบขันธสีมาอยู่เป็นนิตย์ นอกจากทรงบำเพ็ญราชกิจส่วน รัฏฐาภิบาลโนบาย ก็ยังทรงขวนขวายชักชวนให้ประกอบกิจอันปราศจากโทษ เพื่อให้ได้ประสพสุข ประโยชน์ตามสมควรแก่กาลสมัย อันจะพึงมีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลกาลิก ทานบริจาคในคราวก่อน ๆ เช่น กฐินเชลยศักดิ์ แลพระราชกุศลถาวรทานในครั้งหลังนี้ เช่น โรงเรียนหนังสือไทย ซึ่งจักโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณียวัตถุ ในพระนามสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชอุปัชฌายาจรย์ พระราชทานโอกาสแก่พระ ราชวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ตลอดถึงประชาชน ให้ได้ช่องโดยเสด็จในการพระราช กุศลเนือง ๆ มาทรงแสดงพระราชอัธยาศัยอันเต็มด้วยพระเมตตากรุณา เผื่อแผ่ทั่วไปในประชุม พสก ตามเยี่ยงอย่างของมรรคนายกผู้มีจิตโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อในขณะเมื่อบำเพ็ญทานด้วยตนเอง ย่อมชักชวนชนอื่นให้บำเพ็ญตาม ดังนี้เนื้อความที่สรรเสริญไว้ในเรื่องต่าง ๆ โดยอนุรูปแก่เหตุว่า เอโก อตฺตนา จ เทหิ ปรญจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More