คุณสมบัติของผู้ตั้งตนไว้ชอบ มงคลวิเสสกถา หน้า 265
หน้าที่ 265 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อ้างถึงพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ที่เน้นความสำคัญของการตั้งตนไว้ชอบ ซึ่งหมายถึงการประกอบอาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งในด้านศีลธรรมและสังคมรอบข้าง โดยการทำกิจกรรมที่ดีและมีคุณธรรม โดยที่ผู้ตั้งตนไว้ชอบต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักทำสิ่งที่เหมาะสม และไม่โลภหรือจองหอง เพื่อที่จะอยู่ในศีลในธรรม และได้รับการเคารพจากผู้อื่น ทำให้สามารถเจริญเติบโตทั้งในด้านร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-ความตั้งตนไว้ชอบ
-คุณสมบัติทางธรรม
-การประกอบอาชีพที่ดี
-ศีลธรรมและความเคารพ
-การจัดการชีวิตอย่างมีระเบียบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ๒๗๐ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ก็มีปรากฏดังนี้ว่า อตฺตสมมาปณิธิ ความตั้งตนไว้ชอบ เป็นคุณสมบัติอันนิยมว่าดีทั้งในทางโลกและทางธรรม จึงนับได้ว่าเป็นข้อที่ อาจแลเห็นได้ โดยไม่รู้จะต้องพิจารณาให้ลึกซึ่งมาก ผู้ที่ควรสรรเสริญว่า ผู้มีอาชีพอย่างใด ประกอบกิจการให้เป็นประโยชน์ดีที่สุดสำหรับอาชีพอย่างนั้น นับว่า ควรชมเชยยกย่องว่า ตั้งตน ไว้ชอบ นอกจากนี้ควรเป็นผู้รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลาและที่อันควรประกอบกิจการให้เหมาะมุ่ง ทำการงานให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองแลครอบครัวทั้งแก่เพื่อนบ้าน ทั้งแก่ชาติ ศาสนา แล พระมหากษัตริย์ และข้อสำคัญคือไม่ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ ผู้ที่ตั้งตนอยู่เช่นนี้ เรียกว่าตั้งตนไว้ชอบ ในทางธรรม กล่าวโดยย่อ ก็คือเป็นผู้ที่อยู่ในศีลในธรรม เว้นจากทุจริตในไตรทวาร ประพฤติ สุจริตในไตรทวาน เว้นจากการกระทำบาป ใฝ่ใจกระทำบุญอยู่เสมอ อนึ่ง ผู้ที่ควรเรียกได้ว่าตั้ง ตนไว้ในที่ชอบ ควรเป็นผู้ประกอบด้วยความสัมมาคารวะต่อบุคคลควรเคารพประการหนึ่ง ความ ไม่จองหองประการหนึ่ง ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นประการหนึ่ง ความ เป็นผู้รู้อุปการะอันชนอื่นทำแล้วแก่ตนประการหนึ่ง ความฟังธรรมโดยกาลประการหนึ่ง ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นของสำคัญสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะประพฤติดีอยู่เป็นนิตย์ แลถ้าผู้ใดตั้งจิตยึดถือธรรม ทั้ง ๕ ประการนี้ไว้ได้ ก็ควรเรียกได้ว่า เป็นผู้ที่ตั้งตนไว้ชอบ ดังนี้ เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระ ราชสมภารเจ้า ทรงทราบด้วยกำลังพระปรีชาญาณว่า พระราชกุศลสมภารบุญญาธิการกิจ ซึ่ง สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ทรงบำเพ็ญไว้ในปางก่อนมาเพิ่มพูนศุภผลากรวิบากสมับต อันยิ่งใหญ่ฉะนี้แล้ว ทรงพระอุตสาหะพิริยภาพเสด็จสถิตมั่นในพระราชธรรม อันเป็นเหตุเจริญ พระเกียรติยศเดชานุภาพ เป็นที่ร่มเย็นของพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลทวย ราษฎร์ข้าขอบขันธสีมา ต้องด้วยพระพุทธภาษิตนิพนธ์คาถาสรรเสริญว่า ยถา หิ ปพฺพโต เสโล อรญฺญสม พฺรหาวเน เป็นต้น ความว่า ภูเขาศิลามีอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้ได้อาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามใหญ่โต อยู่ใน อรัญฉันใด ตเถว สีลสมฺปนฺนํ สุทธ์ กุลปุตต์ อิธ ។ บุตรภรรยาญาติพวกพ้องมิตรสหาย แลชนนิกายผู้ซึ่งเลี้ยงชีพ ย่อมอาศัยกุลบุตร ผู้มีศรรัทธา ถึง พร้อมด้วยศีล แลเจริญด้วยคุณสมบัติแลวิบากสมบัติฉันนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More